วันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับ pronoun กันนะครับ จริงๆแล้วเรื่องนี้ไม่ยากเลย เพราะว่า เวลาเราจะคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ แน่นอนที่สุดว่า เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง pronoun ได้ เพราะว่า มันใช้ตลอดเวลานั่นเอง จะว่าไป pronoun ก็คือ คำสรรพนามที่ใช้เราใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ นั่นเอง โดยครั้งแรก เราอาจจะใช้คำนามแทนมันก่อน แล้วหลังจากนั้นเมื่อคนฟังรู้แล้วว่าเราพูดถึงอะไร เราก็สามารถใช้ pronoun แทนได้ ขอยกตัวอย่างเป็นภาษาไทยก่อน เช่น ฉันมีสุนัขตัวหนึ่ง มันชื่อ ลักกี้ ( ในที่นี้ คำนาม คือ คำว่าสุนัข เพราะเราเอาไว้ใช้เรียก สัตว์สี่ขา ชนิดหนึ่ง ที่เห่าได้ น่ารัก ซื่อสัตย์ แต่ถ้าเราขืนพูดยาวขนาดนั้น คงแย่แน่ๆเลย เราเลยตั้งชื่อมันว่า สุนัข ซึ่งก็คือ คำนาม นั่นเอง ส่วนคำว่า “มัน” นั้น เราเอามาใช้แทนสุนัข ในทีนี้ เพราะว่าคนฟังรู้แล้วว่าเรากำลังพูดถึง สุนัข ตัวนี้อยู่ คำนี้แหละที่เราเรียกมันว่า สรรพนาม หรือ pronoun นั่นเอง
ทีนี้ ถ้าเราจะคุยกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลย เราก็อาจจะแบ่ง Pronoun ได้ดังนี้ นะครับ ( ไม่ต้องจำชื่อก็ได้นะครับ ขอให้รู้ว่า แต่ละประเภท แตกต่างกันยังไง แล้วก็ใช้ยังไงก็พอ )
Pronoun ( คำสรรพนาม ) คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร คำสรรพนาม (pronouns ) แยกออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) เช่น I, you, we, they , he , she ,it
2. Possessive Pronoun ( สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ) เช่น mine, yours, ours, theirs ,his, hers, its
3. Reflexive Pronouns ( สรรพนามแสดงตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย เช่น myself, yourself, ourselves etc.
4. Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเฉพาะเจาะจง ) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
5. Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เฉพาะเจาะจง ) เช่น all, some, any, somebody, something, someone
6. Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
7. Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น who, which, that
จะเห็นได้ว่า ถ้าจะพูดกันตามหลักวิชาการอย่างงที่บอก รับรองพูดได้หลายวันไม่จบสิ้น วันนี้ ตามที่เราได้เรียนกันไป เราจะเจาะเฉพาะแบบที่ หนึ่งก่อนละกัน เพราะไม่งั้น คนเล่าคงตายก่อน 5555
Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม ) คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
สรรพนาม บุรุษที่ 1 คือ ตัวผู้พูดเอง ได้แก่ I, we
สรรพนาม บุรุษที่ 2 คือ ผู้ฟัง หรือ คนที่เราคุยด้วย ได้แก่ you ( แปลได้ 2 อย่าง คือ คุณ หรือ พวกคุณ แล้วแต่บริบทนั้นๆ )
สรรพนาม บุรุษที่ 3 คือ ผู้ที่ถูกพูดถึง หรือ สิ่งที่ถูกพูดถึง ได้แก่ they ,he, she, it
ขอแนะนำให้ท่องจำ ตาราางข้างบนที่แสดงโน้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ไหนๆก็จะท่องแล้ว ก็เลยให้ท่องทุกสิ่งอย่างที่จำเป็นในการใช้งานเลยก็แล้วกันนะครับ
ต่อไป ก็มาดูตัวอย่างกัน เช่น
I am seeing a girl on the BTS. She seems to recognize me.
ฉันเจอเด็กผู้หญิงคนหนึ่งบน BTS ดูเหมือนเธอจะจำฉันได้ ( She ในประโยคที่สองแทน a girl และ me แทน I ในประโยคที่หนึ่ง )
My friend and her sisters like to play Ping-pong. They play Ping-pong whenever they can.
เพื่อนฉันและน้องสาวของเธอชอบเล่นปิงปอง พวกเขาตีปิงปองทุกครั้งที่มีโอกาส ( they ในประโยคที่สอง แทน My friend และ her sisters ในประโยคที่ 1 )
ทีนี้เรามาดูว่า การใช้ Personal Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานและเป็นกรรมมีหลักการใช้อย่างไร ผมอยากสรุปดังนี้
1.Personal Pronoun ที่ตามหลังคำกริยาหรือตามหลังบุพบท ( preposition ) ต้องใช้ในรูปกรรม เช่น
Please inform him whatever you want. โปรดแจ้งให้เขาทราบถึงสิ่งที่คุณต้องการ ( him ตามหลังดำกริยา inform )
หมายเหตุ ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาดูว่า สรรพนามใน ประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ ยกตัวอย่างเช่น
It was he who went to the library yesterday.
มันคือเขา ที่ไปที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้ ( ใช้ he เพราะเป็นผู้กระทำ )
It was him whom you met at the library yesterday.
เขาคนนี้คือคนที่คุณพบที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้ (ใช้ him เพราะเป็นกรรมของ you met )
ตอนนี้เราเรียน ถึงตรงนี้แล้ว งั้นก็ขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ See you!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น