วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

ฝึก Listening ยังไงดีถึงจะเข้าใจภาษาอังกฤษ ( 30 มีนาคม 2552 )

ปัญหาหนึ่งที่มีนักเรียนถามมากที่สุด คือคำถามที่ว่า จะฝึก Listening ยังไงดีน๊า ถึงจะฟังฝรั่งพูดรู้เรื่องซักที เออ แล้วจะฝึก Listening ได้ที่ไหนบ้างหนอจะได้เก่ง Listening กะเค้าบ้าง ฯลฯ
วันนี้ก็โดนถามอีกแล้ว ว่าทำไงถึงจะเก่งภาษาอังกฤษ วันนี้ก็ขอเริ่มต้นแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลยนะครับ จะได้ไม่เสียเวลา หลักง่ายๆที่ผมใช้คือหลักของพระพุทธเจ้านะครับ คือให้หลัก อิทธิบาท 4 จริงๆแล้วก็เป็นหลักสากลในการที่จะทำทุกสิ่งให้สำเร็จนะครับ หลักง่ายๆมี ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้นๆ วิริยะ ความพากเพียรทำในสิ่งนั้นๆ จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้นๆ วิมังสา คือ ความหมั่นความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน แค่ข้อแรก เราก็แย่แล้ว เพราะว่า ลองถามตัวเองดูสิ ว่า เรามีความพอใจรักใคร่ในภาษาอังกฤษ หรือ อยากเก่งมากแค่ไหน ถ้าอยากเก่งมาก แต่เอาใจใส่น้อย ให้ความสำคัญน้อย โอกาสสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ก็คงไม่ง่าย เพราะมันไม่สอดคล้องกับหลักการ ทุกวันนี้ เท่าที่ผมสังเกต จะเป็นแบบที่ว่านี่แหละครับ คือ อยากให้เก่งมากๆ พูดเป็นไฟ โต้ตอบได้ ฉับไว พึ่บพั่บๆ มีแต่ความอยากแต่ไม่ลงทุน อยากให้มีสูตรสำเร็จ ที่เก่งได้ในสามวันเจ็ดวัน บอกได้เลยว่า ยากส์ ดังนั้นขอให้ใช้หลักอิทธิบาทสี่ของพระพุทธเจ้า ที่ใช้กันมาหลายพันปีนี่แหละ ดีที่สุด ไม่อยากพูดมากเดี๋ยวจะกลายเป็นบรรยายธรรมมะไป 5555 เอาเป็นว่า ขอให้ข้อแรกกะ ข้อสองให้ผ่านก่อนเหอะ ขอเหอะนะ ลงทุนกันหน่อย คนที่เค้าเก่งๆ เค้าก็ลงทุน ลงเวลากันทั้งนั้นแหละ
เอาล่ะ มาที่คำถามว่าแล้วจะฝึก Listening ได้ที่ไหนบ้าง คำตอบก็คือ เราสามารถ ฝึกได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะฝึกรึเปล่า อย่างเช่น ลองฟังรายการข่าวที่พูดเป็นภาษาอังกฤษ หรือ โทรหาเพื่อนแล้วคุยกันเป็นภาษาอังกฤษจนวางสาย ก็ถือว่าฝึกแล้ว ( อ้อ ไม่ต้องโทรมาหาผมนะครับ 55555 ล้อเล่น ครับ โทรมาได้เลย ) พูดง่ายๆก็คือ ฝึกมันทุกอย่างนั่นแหละ เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ก่อนอย่าง ฟังเพลง ดูหนัง ดูข่าว ภาษาอังกฤษเยอะ ๆ ฟังบ่อย ๆ ให้คุ้นหู หรือลองเข้าเว็บต่างประเทศบ่อย ๆ ( อันนี้ คงไม่ต้องสอน เพราะพวกเราคงเข้าบ่อยอยู่แล้ว สารภาพเลยว่า ตัวผมเองที่เก่งได้ส่วนหนึ่งคือ เข้าเวป ทีนี้ พอเจอคำแปลกเราๆก็อยากอ่านรู้เรื่อง ก็เลยขยันเปิดดิก เปิดไปเปิดมา คำศัพท์เต็มหัวเลย ทีนี้ก็ไม่ต้องเปิดศัพท์อีกต่อไป ตอนนี้ แทบไม่ค่อยได้ใช้ดิกเลย แต่ไม่ได้แปลว่า รู้ทุกอย่างนะครับ เป็นไปไม่ได้ แต่เปิดนอยลง เพราะว่า พอนานๆไป เราจะรู้เลยว่า เราไม่ต้องเปิดดิกทุกครั้งเราก็สามารถเข้าใจได้ โดยการเดาศัพท์จากคำรอบๆ แล้วไว้จะเล่าเรื่องการเทคนิคอ่านหนังสือพิมพ์อีกทีครับ ) ดู TV หรือ ดูภาพยนตร์ sound track ก็ช่วยได้ อย่างตัวผมเองกว่าจะเก่งได้ หมดเงินค่าดูหนังไปเป็นแสนแล้ว ผมดูแทบทุกเรื่องเลย ( พูดจริงๆนะ อ้อ แนะนำให้ดูหนังโรแมนติกหรือ แนว ดราม่าเบาๆ ก่อน เพราะว่า พูดกันช้าๆ เข้าใจง่าย อย่าเพิ่งไปดูแนว แอคชั่น สงคราม หรือ แนวทนาย สืบสวน สอบสวนเด็ดขาดเชียว พูดเร็วอย่างกะปืนกล ฟังไม่ทันแล้วจะพาลท้อไปซะก่อน 5555 ) อีกอันที่น่าสนใจคือ การดูช่อง Shopping ทางเคเบิล TV เพราะโฆษณาแวนี้ มักจะมีการใช้คำสละสลวยตรงประเด็นและเข้าใจง่าย
บางคนอ่านหนังสือที่สอนภาษาอังกฤษแล้วไม่รู้เรื่อง ฟังโทรทัศน์ วิทยุก็ไม่รู้เรื่อง ฯลฯ ผมว่า อย่าไปโทษใครเลย เพราะมันขึ้นอยู่กับตัวเราจะฝึกพูดหมั่นซ้อมและพัฒนาภาษาของเรารึเปล่า (ผมว่าทุกคนก็คิดได้แบบนี้นะ แต่ไม่ยักทำสักที 5555 ) โอ้โฮ บางคนลงทุนไปเรียนที่แพง ๆ ดัง ๆ เจอแต่คนเก่ง ๆ ( เน่าเลย ) เซ็งปนเศร้า เพราะดันไปเปรีบเทียบ ตัวเรา ณ วันนี้ กับเค้า ( ผู้ซึ่งน่าจะฝึกมานานแล้ว แล้วก็พาลไม่อยากไปเรียน เลยพูดไม่ได้ เรียนไม่รู้เรื่อง เสียเงินเปล่า ๆ ) ผมว่าไม่แฟร์ ลองใช้จินตนาการที่ผมแนะนำมาตลอดว่า เออ ซักวันนึง ฉันจะต้องเก่งแบบเธอให้ได้เลย เอาเค้าเป็นตัวอย่าง มองให้เห็นตัวเราในอนาคตที่สามารถพูดได้แบบนั้น แล้วเปรียบเทียบกับคนอื่น แบบนี้ถึงจะมีสิทธิ์ สำเร็จ และมีไฟ ไม่ท้อ แต่มีสิ่งหนึ่งที่บอกได้เต็มปากเต็มคำเลยว่า ดีที่สุด คือหาโอกาสไปคุยกับคนที่พูดภาษาอังกฤษ หรือ เจ้าของภาษาโดยตรงก็ได้ นี่แหละเป็นวิธีการฝึกฝนที่ดีที่สุด แหม ไม่อยากจะคุยกับมันเลย เราโง่ภาษาอังกฤษจะตาย ฝรั่งก็มาชวนคุยอยู่ได้ ต้องจำใจคุยด้วยแบบงู ๆ ปลา ๆ บ้า ๆ บอ ๆ เชื่อมั๊ย บ่อย ๆ เข้าเราก็เริ่มชินและกล้าพูดจนได้ ในชั้นเรียนนั่นแหละ เวลาให้พูดอะไรก็พูดไปเหอะ ผิดถูกก็ช่างมันปะไร ไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่เรา ใครมันจะเก่งตั้งแต่เกิด พูดๆไป ไม่นานก็พูดได้เอง จริงๆนะ
มาถึงคำถามที่ว่า ทำยังไงถึงจะเก่ง Listening ก็ทำมันทุกอย่างที่บอกมาทั้งหมดนั่นแหละ และต้องทำใจด้วย ทำใจในที่นี้ก็คือ ทำใจให้กล้า กล้าเริ่มต้น กล้าหน้าแตก กล้าโง่ (กล้าถามไง 5555 ) หลาย ๆ อย่าง เริ่มที่เราตั้งใจ ตั้งใจ และตั้งใจ รวมทั้ง ซ้อม ซ้อม และซ้อม ( กลับมา อิทธิบาท สี่ อีกละ ทีนี้เราก็ต้องคอยบอก และให้กำลังใจตัวเองด้วยนะ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามก็ยังอยู่ที่นั่น เอ๊ย ไม่ใช่ ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น อย่าหยุดพยายาม นะครับ )
สรุปทั้งหมดที่ว่ามา ผมว่านะ หาแฟนฝรั่งซักคน 55555 หมดเรื่อง อ้อ ก่อนจบ ผมมี ไฟล์มาฝาก เพื่อทดสอบการฟัง อาจง่ายไปซักนิด แต่ลองฟังดูก่อน มีแบบทดสอบให้ด้วยจะได้รู้ว่า เราฟังรู้เรื่องมั๊ยตามนี้นะครับ
http://www.mediafire.com/?sharekey=5507b5f4504eb09cd6baebe61b361f7cca87d30f5952ffe9ce018c8114394287
http://www.mediafire.com/?sharekey=5507b5f4504eb09cd6baebe61b361f7cbe71c3d85ff9f198ce018c8114394287
มีสองเวอร์ชั่นนะครับ ลองฟังดู แล้วอย่าลืม โหลดแบบฝึกหัดมาลองทำด้วย จะได้เข้าใจยิ่งขึ้นครับ

วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2552

Phonics วันที่ 27 มีนาคม 2552

เอ้า มาต่อจากคราวที่แล้วกันนะครับ พวกเรา วันนี้เราก็จะคุยเรื่อง Phonics ว่าด้วยเสียง พยัญชนะ Consonants
ต่อครับ
เสียง S s ลองออกเสียงคำว่า sail soap sad sun sit sand ดูนะครับ เสียงตัว S ที่เราได้ยิน คือ ซือ แค่เสียงที่ยิงฟันไว้ แล้วปล่อยให้ลมผ่านออกมา ก็จะได้ยินเสียงของ s- ce- se ด้วยเช่นกัน
เสียง T t ลองออกเสียงคำว่า talk take tap table taxi นะครับ เสียง T ที่เราได้คือเสียง เทอะ หรือ เถอะ ซึ่งแน่นอนครับว่า คำที่ลงท้ายด้วยตัว t ก็จะต้องมีเสียงของ t ด้วยเช่นคำว่า pat แพท-เทอะ(เบาๆ) แต่ไม่จำเป็นต้องออกเสียงท้ายแรงมากจนกลายเป็น แพท-เทอะ นะครับ
เสียง V v ถ้าจะให้ได้เสียง V ที่ถูกต้อง ฟันบนจะต้องกัดริมฝีปากล่างไว้เบาๆแล้วออกเสียง เวอ ออกมา ให้สังเกตว่าริมฝีปากล่างจะมีความสั่นสะเทือนด้วย เสียงที่ได้คล้ายเสียง เหวอะ ผสมกับเสียง เฝอะ บอกไม่ได้เหมือนกันว่าออกเป็นเสียงใดกันแน่ เช่นคำว่า view violin van video ส่วนคำที่ลงท้ายด้วย v ก็ต้องมีเสียง v ข้างท้ายด้วยนะครับ เช่น คำว่า drive five life knife เป็นต้น
เสียง W w ตัวอักษรนี้มีชื่อว่า ดับเบิลยู นะครับอย่าไปเปลี่ยนชื่อของเขา ( บางคนอยากอ่านว่า ดับบลิว ก็อนุโลมนะครับ ) ถ้าอยากได้ยินเสียงให้ลองออกเสียงคำว่า wall way walk water watch wait we เสียง w ที่เราได้ยินคือ เสียง เวอะ หรือ วะ ( ซึ่งก็คือเสียง ว แหวน ในภาษาไทยนั่นเอง ) คำภาษาอังกฤษที่ใช้ในการตั้งคำถามแบบเปิด( คำถามแบบที่เราใช้ถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมากกว่าคำว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ) แทบทั้งหมดที่เรารู้จักเช่น What Where When Why ก็ออกเสียง w นะครับ ยกเว้น Who , Whose , Whom คำเหล่านี้ออกเสียงเป็นเสียงฮ นกฮูก นะครับ
เสียง X x เสียงของ x คือเสียง k บวกกับเสียง sที่ออกผสมกัน เช่น x-ray xylophone เป็นต้น ซึ่งเสียง x โดยมากจะลงท้ายคำหลายๆ คำ ที่เรารู้จักแต่พวกเรามักไม่ค่อยยอมออกเสียงกัน พวกเราชอบอออกเสียงว่า เอ็ก ทั้งๆที่เสียงมันคือ เอ็กซซซซ์ ซึ่งจะทำให้คำนั้นเสียงเพี้ยนไป เช่น fox ถ้าออกเสียงว่า ฟ็อก จะแปลว่า หมอก แต่ถ้าออกเสียงถูกต้องจะออกว่า ฟ็อกซซซ์ ซึ่งแปลว่า สุนัขจิ้งจอก เป็นต้น
เสียง Y y เสียงของ y คือเสียงของคำว่า yellow yesterday you yes year หรือเทียบเคียงกับ ภาษาไทยคือเสียง ย ยักษ์ นั่นเอง เราจะได้เสียง เยอะ จากการออกเสียงทุกๆ คำข้างต้นนะครับ ลองทำดู
เสียง Z z ตัวอักษรตัวนี้ถ้าคนอังกฤษหรือคนออสเตรเลียนจะเรียกว่า แซด แต่คนอเมริกันจะเรียกว่า ซี ( แต่คนไทย ไม่ต้อง วอรี่ เพราะว่า เราได้ทั้งสองอย่าง 5555 )แต่ เสียงของตัว z นี้ก็คือเสียงเดียวกัน กล่าวคือ เสียงที่ได้จะมีความสั่นสะเทือนระหว่างลิ้นและเพดาน เมื่อจับดูลำคอเราเบาๆจะพบความสั่นสะเทือน ( ขอย้ำว่า เบาๆนะ ไม่ใช่ บีบคอตัวเอง เดี๋ยวขาดใจตาย ไม่รู้ด้วยนะ 5555 ) เช่น เมื่อเราออกคำว่า zip zig zag zoo zebra zero เป็นต้น
นอกจากนี้ การออกเสียงภาษาอังกฤษ ยังมีคำที่ออกเสียงเป็นเสียงควบเหมือนในภาษาไทยด้วยนะครับ เช่น
เสียง bl ลองออกเสียงคำเหล่านี้ blow blind blouse blue blink black blame blanket block blood ให้สังเกตว่าคำพวกนี้ ต้องออกทั้งเสียง b และเสียง l พร้อมๆกัน เช่น ถ้าเราจะอ่านคำว่า black จะต้องออกเสียงว่า เบอะ-แลค เร็วๆ เป็น แบลค เราจะไม่ออกแค่ แบค เด็ดขาด เพราะความหมายต่างกัน ( จริงๆแล้ว พวกเราคนไทยไม่น่าจะมีปัญหานี้ เพราะเรามีคำแบบนี้อยู่แล้ว เช่น คำว่า เพลง คลอง กลอง เป็นต้น )
เสียง cl ลองออกเสียงคำเหล่านี้ clay clean clear clap class claw clever cliff climb cloud clown clue clock close cloth clothes ดู คำทั้งหมดข้างต้นเราต้องออกเสียงของ c และเสียงของ l พร้อมๆกัน เช่น ถ้าเราอ่านคำว่า class ก็จะได้เสียงว่า เขอะ-ลาส เร็วๆ เป็น คลาส ไม่ใช่แค่ คาส นะครับ
เสียง dr ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดู draw dream dress drag drain drop drum dry drink drill drip drive
คำทั้งหมดเมื่อคุณออกเสียงจะต้องมีเสียง d และเสียง r พร้อมๆกัน เช่นคุณอ่านคำว่า drink จะได้เสียงว่า
เดอะ-ริงค เร็วๆเป็นเสียง ดริงค ไม่ใช่แค่ ดิ้ง นะครับ
เสียง fl ลองออกเสียงคำเหล่านี้ flavor fly float flood flower flag flame flash flat flu flute ดู ซึ่งคำทั้งหมดเราจะต้องออกเสียงของทั้ง f และ l พร้อมๆกัน เช่น เมื่อเราจะอ่านคำว่า fly จะได้เสียงว่า เฟอะ-ลาย เร็วๆ กลาย เป็น ฟลาย ไม่ใช่แค่ ฟาย
เสียง gr ลองออกเสียงคำเหล่านี้ grass green grow grill grab grandmother grape group grow คำเหล่านี้ เราต้องออกเสียงของทั้ง g และ r เช่นเมื่อเราต้องการจะอ่านคำว่า grass ต้องออกเสียงว่า เกอะ-ราส เร็วๆ เป็น กราส ไม่ใช่แค่ กาส ยังมีอีกหลายคำที่ออกเสียงควบลองช่วยกันหาเพิ่มเติมดูนะครับ ขี้เกียจ ยกตัวอย่างแล้ว 5555
เสียง sn ลองออกเสียงคำเหล่านี้ sneeze snore snow snack snail snake คำเหล่านี้ทั้งหมดต้องออกเสียงทั้ง s และ n ซึ่งเราจะได้ยินเสียงว่า สะ-เนอะ ของทุกๆ คำนะครับ ถึงจะถูกต้อง
เสียง tw ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดูนะครับ twig twin twelve twenty twist คำเหล่านี้ต้องออกเสียงทั้ง t และ w ซึ่งเราจะได้ยินเสียงว่า เทอะ-เวอะ ของทุกๆ คำนะครับ
เสียง st ลองออกเสียงคำเหล่านี้ sting store stone study strong stir stop step stick still storm story street
คำเหล่านี้ต้องออกเสียงที่ตัว s และt ซึ่งเราจะได้ยินเสียงว่า สะ-เทอะ ของทุกคำนะครับ
เอาแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วมาต่อใหม่คราวหน้านะครับ Bye-bye

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

How to Excel in English (Master Jonathan's tactics) วันที่ 25 มีนาคม 2552

ไปอ่านเจอ บทความเรื่อง How to Excel in English ของ Master Jonathan มา อยากแบ่งปันให้พวกเราได้อ่านกันด้วย ทำเป็นสองภาษาเพื่อให้พวกเราได้ลองฝึกแปลดู วิธีการอ่านให้อ่านภาษาอังกฤษก่อน จนจบทั้งย่อหน้า ( อ่านในใจ หรืออ่านออกเสียงก็ได้ ถ้าออกเสียงก็ดีจะได้ฟังเสียงตัวเองไปด้วย ) จากนั้น ลองนึกในใจคร่าวๆ ว่า เค้าต้องการจะบอกว่าอะไร ไม่จำเป็นต้องแปลออกทุกตัว ขอแค่ใจความสำคัญจากนั้น ลองดู คำแปลภาษาไทยด้านล่างว่าใกล้เคียงกับที่เราคิดเอาไว้หรือเปล่า ไม่ต้องตกใจถ้าคำแปลไม่ตรงกับที่เรานึกเอาไว้ เราก็มาดูต่อว่า ที่เราคิดไว้กับคำแปลที่ลงไว้ แตกต่างกันตรงไหน มีศัพท์คำไหน ที่เราแปลผิดไป ทำแบบนี้บ่อย ๆ สมองเราจะจดจำได้อย่างแม่นยำจากความผิดพลาดที่เราทำซ้ำๆ ( ความผิดพลาด ที่เราแก้ไขแล้วนะ ไม่ใช่จำแต่ความผิด หรือจำอย่างผิดๆ 555 ) อ้อ คราวที่แล้ว พยายามส่ง Link File บทเรียนในห้อง ( Conversation Dialoque ) มาให้แล้วไม่สำเร็จ วันนี้ เลยลองส่งลิงค์นี้มาอีกทีนะครับ ลองโหลดดูนะครับ ( คนที่ขาดเรียน ก็ไม่ต้องไปยืมเพื่อนนะครับ พรินท์เองได้เลย )

http://www.mediafire.com/?nj2zhzaznji

วิธีที่จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษ ( ด้วยวิธีของท่าน ปรมาจารย์ โจนาธาน )
A lot of Thai students especially English admirers, would like to know "how to be good at English". According to Joseph Bellafiore, a veteran American linguist, the best way to excel of English is to try to enrich your word power. "The more vocabularies you gain, the better English learner you are," says Bellafiore.
เด็กนักเรียนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ชอบภาษาอังกฤษล้วนอยากจะทราบ "วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่ง" กันทั้งนั้น โจเซฟ เบลลาฟิโอเร นักภาษาศาสตร์อเมริกันผู้เชียวชาญ กล่าวไว้ว่า วิธีการเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งก็คือ จงพยายามเสริมสร้างความรู้ในเรื่องศัพท์ "ยิ่งรู้ศัพท์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นผู้เรียนภาษาอังกฤษยิ่งขึ้นเท่านั้น" เบลลาฟิโอเรกล่าว
Wide reading of books, newspapers and magazines gives you a great leap forward to increase your command of words. Since you're interested in getting better marks in English exams, landing a good job in the near future and becoming a person who can speak English fluently, you must start now! To start with, there are six ways to a better vocabulary :
การอ่านมาก ทั้งหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะทำให้เราก้าวไกลมากในการเพิ่มพูนเสริมสร้างการใช้ศัพท์ ในเมื่อเราสนใจอยากได้คะแนนสอบภาษาอังกฤษสูงๆ อยากได้งานดีๆ ในอนาคตอันใกล้ และอยากเป็นคนที่สามารถพูดอังกฤษคล่อง เราต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เริ่มต้นทีเดียว ก็มีอยู่ 6 วิธีด้วยกันในอันที่จะทำให้เก่งศัพท์ยิ่งขึ้น

1. Experience : ประสบการณ์
You have to widen your range of experience by firsthand contact with English-speaking people. In a nutshell, you have to try to converse with English speakers-on whatevertopics-whenever you have a chance. Life is the greatest teacher of words and everything else.
เราควรเสริมสร้างเราควรจะเสริมสร้างประสบการณ์ที่มีอยู่ด้วยการติดต่อสื่อสารโดยตรงกับคนที่พูดภาษาอังกฤษ คือ พูดง่ายๆ เราควรจะพยายามสนทนากับคนที่พูดภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะคุยเรื่องอะไรเมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีโอกาสชีวิตคือครูคำศัพท์และทุกสิ่งทุกอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

2. Reading : การอ่าน
You must develop your habit of reading English books, newspaper and magazines based on interests, hobby, vocation , etc. Reading is one of the chef tools in broadening your background.
เราต้องพัฒนานิสัยในการอ่านหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่เป็นภาษาอังกฤษบนพื้นฐานของความสนใจ งานอดิเรก อาชีพ เป็นต้น การอ่านถือว่าเป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักๆ ที่จะเสริมสร้างภูมิหลังให้แก่เรา

3. Dictionary : พจนานุกรม
You should get better acquainted with the contents and arrangements of words in the dictionary. The dictionary is a "must" for every English learner.
เราควรจะทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาสาระและการเรียงร้อย คำในพจนานุกรมให้ดียิ่งขึ้น พจนานุกรมนั้น "จำเป็น" สำหรับคนที่เรียนภาษาอังกฤษ

4. Notebook : สมุดบันทึก
After collecting words, you are to keep a neat record of new words in your notebook. If possible, you should copy the phrase of sentence to illustrate its actual use. And don't forget to check the meaning of every word or sentence you copy.
หลังจากรวบรวมคำศัพท์ เราต้องจดบันทึกคำศัพท์ใหม่ๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบในสมุดบันทึกของเราหากเป็นไปได้ให้คัดลอกวลีหรือประโยคที่แสดงถึงวิธีใช้และอย่าลืมตรวจดูความหมายของทุกคำ

5. Word-families or roots : ตระกูลศัพท์หรือรากศัพท์
You should have to study t groups of words that are related in structure and meaning because of prefixes , roots and suffixes. Latin and Greek parents have given us thousand of words in English.
เราต้องศึกษาหมวดหมู่ของคำศัพท์ต่างๆ ที่สัมพันธ์กันในโครงสร้างและความหมายอันเนื่องจากคำเติมหน้า (อุปสรรค) รากศัพท์ และคำต่อท้าย (อาคม) ตระกูลศัพท์ที่มาจากภาษาลาตินและกรีกนั้นได้ให้ศัพท์ในภาษาอังกฤษแก่เรานับพันๆ คำ

6. Word-games : เกมคำศัพท์
Just for fun , if you can become a crossword puzzle fan and solve other games that appear in newspapers, magazines, quiz books , etc. All in all, you have to read , write and speak English as much as you can, in an attempt to excel in English.
เพื่อความสนุก หากเราสามารถจะเป็นแฟนเกมปริศนาอักษรไขว้ และไขเกมคำศัพท์อื่นๆ ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือเกมปริศนา เป็นต้น ทั้งนี้และทั้งนั้น เราจะต้องอ่าน เขียนและพูดภาษาอังกฤษให้ได้มากเท่าที่จะมากได้ ในความพยายามที่จะทำให้เก่งอังกฤษ

ที่อ่านมาก็มีแค่ 6 ข้อ เท่านี้อะครับ วันหลังจะหาอะไร อย่างอื่นมาให้อ่านอีกครับ

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

Pronouns 1 ( คำสรรพนาม ) วันที่ 23 มีนาคม 2552


วันนี้ เราจะมาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับ pronoun กันนะครับ จริงๆแล้วเรื่องนี้ไม่ยากเลย เพราะว่า เวลาเราจะคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ แน่นอนที่สุดว่า เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยง pronoun ได้ เพราะว่า มันใช้ตลอดเวลานั่นเอง จะว่าไป pronoun ก็คือ คำสรรพนามที่ใช้เราใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ นั่นเอง โดยครั้งแรก เราอาจจะใช้คำนามแทนมันก่อน แล้วหลังจากนั้นเมื่อคนฟังรู้แล้วว่าเราพูดถึงอะไร เราก็สามารถใช้ pronoun แทนได้ ขอยกตัวอย่างเป็นภาษาไทยก่อน เช่น ฉันมีสุนัขตัวหนึ่ง มันชื่อ ลักกี้ ( ในที่นี้ คำนาม คือ คำว่าสุนัข เพราะเราเอาไว้ใช้เรียก สัตว์สี่ขา ชนิดหนึ่ง ที่เห่าได้ น่ารัก ซื่อสัตย์ แต่ถ้าเราขืนพูดยาวขนาดนั้น คงแย่แน่ๆเลย เราเลยตั้งชื่อมันว่า สุนัข ซึ่งก็คือ คำนาม นั่นเอง ส่วนคำว่า “มัน” นั้น เราเอามาใช้แทนสุนัข ในทีนี้ เพราะว่าคนฟังรู้แล้วว่าเรากำลังพูดถึง สุนัข ตัวนี้อยู่ คำนี้แหละที่เราเรียกมันว่า สรรพนาม หรือ pronoun นั่นเอง
ทีนี้ ถ้าเราจะคุยกันแบบเป็นเรื่องเป็นราวเลย เราก็อาจจะแบ่ง Pronoun ได้ดังนี้ นะครับ ( ไม่ต้องจำชื่อก็ได้นะครับ ขอให้รู้ว่า แต่ละประเภท แตกต่างกันยังไง แล้วก็ใช้ยังไงก็พอ )

Pronoun ( คำสรรพนาม ) คือคำที่ใช้แทนคำนามหรือคำเสมอนาม ( nouns- equivalent ) เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงซ้ำซาก หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูด ผู้ฟัง หรือแทนสิ่งของที่ยังไม่รู้ หรือไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร คำสรรพนาม (pronouns ) แยกออกเป็น 7 ชนิด คือ
1. Personal Pronoun ( บุรุษสรรพนาม ) เช่น I, you, we, they , he , she ,it
2. Possessive Pronoun ( สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ) เช่น mine, yours, ours, theirs ,his, hers, its
3. Reflexive Pronouns ( สรรพนามแสดงตนเอง ) เป็นคำที่มี - self ลงท้าย เช่น myself, yourself, ourselves etc.
4. Definite Pronoun ( หรือ Demonstrative Pronouns สรรพนามเฉพาะเจาะจง ) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
5. Indefinite Pronoun ( สรรพนามไม่เฉพาะเจาะจง ) เช่น all, some, any, somebody, something, someone
6. Interrogative Pronoun ( สรรพนามคำถาม ) เช่น Who, Which, What
7. Relative pronoun ( สรรพนามเชื่อมความ ) เช่น who, which, that
จะเห็นได้ว่า ถ้าจะพูดกันตามหลักวิชาการอย่างงที่บอก รับรองพูดได้หลายวันไม่จบสิ้น วันนี้ ตามที่เราได้เรียนกันไป เราจะเจาะเฉพาะแบบที่ หนึ่งก่อนละกัน เพราะไม่งั้น คนเล่าคงตายก่อน 5555
Personal Pronouns ( บุรุษสรรพนาม ) คือสรรพนามที่ใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของในการพูดสนทนา มี 3 บุรุษคือ
สรรพนาม บุรุษที่ 1 คือ ตัวผู้พูดเอง ได้แก่ I, we
สรรพนาม บุรุษที่ 2 คือ ผู้ฟัง หรือ คนที่เราคุยด้วย ได้แก่ you ( แปลได้ 2 อย่าง คือ คุณ หรือ พวกคุณ แล้วแต่บริบทนั้นๆ )
สรรพนาม บุรุษที่ 3 คือ ผู้ที่ถูกพูดถึง หรือ สิ่งที่ถูกพูดถึง ได้แก่ they ,he, she, it
ขอแนะนำให้ท่องจำ ตาราางข้างบนที่แสดงโน้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน แต่ไหนๆก็จะท่องแล้ว ก็เลยให้ท่องทุกสิ่งอย่างที่จำเป็นในการใช้งานเลยก็แล้วกันนะครับ
ต่อไป ก็มาดูตัวอย่างกัน เช่น
I am seeing a girl on the BTS. She seems to recognize me.
ฉันเจอเด็กผู้หญิงคนหนึ่งบน BTS ดูเหมือนเธอจะจำฉันได้ ( She ในประโยคที่สองแทน a girl และ me แทน I ในประโยคที่หนึ่ง )
My friend and her sisters like to play Ping-pong. They play Ping-pong whenever they can.
เพื่อนฉันและน้องสาวของเธอชอบเล่นปิงปอง พวกเขาตีปิงปองทุกครั้งที่มีโอกาส ( they ในประโยคที่สอง แทน My friend และ her sisters ในประโยคที่ 1 )
ทีนี้เรามาดูว่า การใช้ Personal Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานและเป็นกรรมมีหลักการใช้อย่างไร ผมอยากสรุปดังนี้
1.Personal Pronoun ที่ตามหลังคำกริยาหรือตามหลังบุพบท ( preposition ) ต้องใช้ในรูปกรรม เช่น
Please inform him whatever you want. โปรดแจ้งให้เขาทราบถึงสิ่งที่คุณต้องการ ( him ตามหลังดำกริยา inform )
หมายเหตุ ถ้ากริยาเป็น verb to be สรรพนามที่ตามหลังจะใช้เป็นประธานหรือเป็นกรรม ให้พิจารณาดูว่า สรรพนามใน ประโยคนั้นอยู่ในรูปผู้กระทำ หรือ ผู้ถูกกระทำ ยกตัวอย่างเช่น
It was he who went to the library yesterday.
มันคือเขา ที่ไปที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้ ( ใช้ he เพราะเป็นผู้กระทำ )
It was him whom you met at the library yesterday.
เขาคนนี้คือคนที่คุณพบที่ห้องสมุดเมื่อวานนี้ (ใช้ him เพราะเป็นกรรมของ you met )
ตอนนี้เราเรียน ถึงตรงนี้แล้ว งั้นก็ขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ See you!

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

Phonics วันที่ 20 มีนาคม 2552

เอาล่ะ วันนี้เราจะมาต่อกัน หลังจากไปฝึกอ่าน บทฝึกหัด เสียง แอะ เอะ อิ ออะ อะ เรียบร้อยแล้ว อาจรู้สึกเมื่อยปากบ้าง แต่ก็นั่นแหละ เนื่องจาก ภาษาอังกฤษใช้กล้ามเนื้อปากเยอะมาก ถ้าไม่เมื่อยแสดงว่า อออกเสียงผิดวิธีแล้ว ไหนจะ ตัว V , Th , S ,T ฯลฯ 5555
ต่อดีกว่า ถึงไหนแล้วล่ะ อ้อ วันนี้จะคุยเรื่อง สระเสียงยาว จริงๆแล้วมันก็คือตัวที่เราค่อนข้างคุ้นเคยเพราะเราเรียกชื่อตัวอักษรนั้นๆ อยู่แล้ว เช่นชื่อที่เราเรียก A E I O U เสียงที่เราเรียก ก็คือเสียง เอ อี ไอ โอ ยู ซึ่งก็คือเสียงของสระเสียงยาวนั้นเอง
Long A Sound เช่น คำว่า Ace เราอ่านว่า เอด-ส เสียง A เสียงยาวจึงเป็นเสียง เอ แต่ Long A ก็ยังมาให้เห็นในรูปอื่นๆ ด้วย เช่น
กลุ่ม -ay เช่น Tray- เทรย์ play-เพลย์ spray-สเปรย์ hay-เฮย์ jay-เจย์
กลุ่ม_ai เช่น sail-เซล snail-สะเนล train-เทรน rain-เรน
กลุ่ม_eigh เช่น eight-เอท weigh-เวท
หมายเหตุ อยากให้สังเกตว่าเสียง egg กับ eight ต่างกันเพราะ egg เป็นสระ e เสียง สั้น แต่ eight เป็น สระ a เสียงยาว egg จึงออกเสียงสั้นว่า eight นะครับ
วิธีสังเกตดูว่า เมื่อไหร่จะออกเสียงสั้ย เมื่อไหร่จะออกเสียงยาว ให้สังเกต จำนวนสระ ในคำนั้นๆ เช่น ปกติ ถ้ามีสระในคำนั้นๆเพียงตัวเดียว อย่าง Cat เราก็จะออกเป็นเสียงสั้น คือ แคะท (เสียงแอะ) แต่ถ้าในคำนั้นๆมีสระ สองตัว เราจะไม่ออกเสียงสระตัวหลัง แต่จะออกเสียงสระตัวหน้าเป็นเสียงยาวแทน ( ซึ่งก็คือเสียงที่เราเรียกสระตัวนั้น อย่างที่บอกตอนต้นว่า เอ อี ไอ โอ ยู เลย ขอให้ดูตัวอย่างดังต่อไปนี้
Short a sound และ Long a sound+silente
mad (แอะ) แมะด made (เอ) เมด
man (แอะ) แมะน mane(เอะ) เมน
hat (แอะ) แฮะท hate(เอะ) เฮท
cap (แอะ) แคะพ cape(เอะ) เคพ
Long E sound เช่น key เราอ่านว่า คี เสียง E เสียงยาวจึงเป็นเสียง อี แต่ Long E ยังมาให้เห็นในรูปอื่น ๆ อีกด้วย เช่น
กลุ่ม_ee เช่น feet meet sheep tree three teeth ( ฟีท มีท ชีพ ทรี ธรี ทีธ )
กลุ่ม_ea เช่น seal jeans eagle meat peanut ( ซีล จีนส อีเกิล มีท พีนัท )
กลุ่ม_ey เช่น money donkey monkey ( มันนี่ ดองคี่ มันนี่ )
กลุ่ม_ie,e เช่น he she cookie chief thief field shield ( ฮี ชี คุกกี้ ชีฟ ธีฟ ฟีลด ชีลด )
Long I sound เช่น ice มีสระสองตัวคือ i กับ e เราจึงอ่านแบบไม่สนใจสระตัวหลัง ให้อ่านเสียงสระตัวแรกเป็นเสียง ไอ ดังนั้น คำนี้จึงอ่านว่า ไอส เสียง I เสียงยาวจึงเป็นเสียง ไอ หรือ อาย ซึ่งเจ้าเสียง Long I ยังมาให้เห็นในรูปอื่นๆ อีกเช่น
กลุ่ม_ie,y เช่น fly my shy pie tie อ่านว่า ฟลาย มาย ชาย พาย ทาย
กลุ่ม_igh เช่นhigh night light fight อ่านว่า ไฮ ไนท ไลท ไฟลท
กลุ่ม_ild,ind เช่น find kind mind blind wild child อ่านว่า ไฟน ไคน ไมน ไบลนด ( คำนี้ หรือคำภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด เวลาอ่าน ต้องออกเสียงทุกตัวอักษร จะสังเกตได้ว่า เวลาผมเขียนคำอ่าน จะมีทุกเสียงเลย เวลาออก เสียงก็ต้องครบทุกเสียงเช่นกัน ก้คล้ายๆกับภาษาไทย คำยาวๆ อย่างเช่น คำว่า พิจารณา ถ้าเรามีความรู้ เราก็ต้องออกเสียงว่า พิ จา ระ นา เราจะออกเสียงว่า พิ ลา คนฟังก็จะไมรู้เรื่องหรือ พยายามเดา แต่ก็เดาผิดก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น เริ่มตั้งแต่วันนี้ ออกเสียงให้ถูกและให้ครบ เพื่ออนาคตเวลาคุยกับฝรั่ง ๆ จะได้รู้เรื่อง นะ นะ ) เอ้า ต่อ ถัดไปก็ ไวลด ไชลด เป็นต้น
อย่างที่บอก ถ้าi เสียงยาวตามด้วย e เราก็จะไม่ออกเสียง อี นะ เช่น
time five bike write hive อ่านว่า ไทม ไฟฟ ไบค ไรท ( อ้อ แถมให้หน่อยนึง เวลาเราเห็น WR อยู่ติดกันแบบนี้ เราจะไม่ออกเสียงตัว w ให้อ่านแบบมองไม่เห็นตัวw ก็เลยออกแต่เสียงตัว R เท่านั้น ) ไฮฟ
Long O sound เช่น Coat เราอ่านว่า โคท เสียง O เสียงยาวเพราะคำนี้มีสระสองตัวคือตัวโอกับตัวเอ เวลาอ่าน เราก็เลยอ่านตัวหน้าเป็นเสียงโอยาว ตัวหลังเราทำเป็นมองไม่เห็นซะ คำนี้จึงออกเสียงเป็นเสียงโอ เช่น rope nose bone home rose hole note อ่านว่า โรพ โนส โบน โฮม โรส โฮล โนท แต่เจ้า Long O ยังมาให้เห็นในรูปอื่นๆ เช่น
กลุ่ม_oe,oa เช่น คำว่า toe hoe road boat toast อ่านว่า โท โฮ โรด โบท โทสท
กลุ่ม_o,ow,old,ost เช่นคำว่า go no old gold crow bowl snow ghost อ่านว่า โก โน โกลด โครว โบลว สะโนว โกสท เป็นต้น
Long U sound เช่น University เราอ่านว่า ยูนิเวอซิตี้ เสียง U เสียงยาว หรือคำว่า Cute , Mute , Glue , Fuel ,Cube ,Huge,Use มียูกับอีอยู่ด้วยกัน เราเลยออกเสียงแบบมองไม่เห็นตัว e ดังนั้น เสียงจึงเป็นเสียงยู อ่านว่า คะยูท มะยูท กละยู ฟะยูล คะยูบ ฮะยูท ยูส แต่เสียง Long U ยังมาให้เห็นในรูปอื่นๆ เช่น
กลุ่ม ew เช่นคำว่า screw อ่านว่า สะครู เป็นต้น
พยัญชนะ Consonants
ก็คือการที่ เราออกเสียงพยัญชนะในคำนั้นๆ อย่างเช่น
B b ถ้าอยากได้ยินเสียงของตัวอักษร B ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดูนะครับ
bat bird boat bear เราจะได้ยินเสียงของตัว B คือเสียง เบอะ อ่านว่า แบะท เบอะร์ด โบะท แบร์
C c ตัว c จะมี 2 เสียง คือเสียง เบา กับเสียง หนัก
C เสียงเบาจะออกเสียงตามชื่อเขาเลยว่า ซี เช่น Circle ceiling cell central cereal อ่านว่า เซอเคิล ซีลลิ่ง เซล เซ็นทรัล ซีรีล ส่วน C เสียงหนักก็ที่เราคุ้นเคย กัน เช่น cat cow car come cake แคะท คาว คาร์ คัม เคะก เราจะออกเสียงของตัว C เป็นเสียง เคอะ
ไหนเรามาดูตัว D d กัน เราลองออกเสียงคำเหล่านี้เพื่อจะได้ยินเสียงของตัวอักษร D เช่นคำว่า dog door duck doll dance deer drum เราก็จะได้ยินเสียงของตัว D เป็นเสียง เดอะ อ่านว่า ดอะก ดอร์ ดะก ดอะล แดะนซ เดียร ดระม
ส่วนตัว F f เราลองออกเสียง คำเหล่านี้เพื่อจะได้ยินเสียงของตัว F เช่นคำว่า fan four fun fish food fly อ่านว่า แฟะน โฟร ฟะน ฟิช ฟูด ฟลาย เสียงตัว f ที่เราได้ยินหรือออกเสียง ก็คือเสียงที่ปล่อยให้ลมพ่นผ่านฟันบนและริมฝีปากล่างออกมา เป็นเสีงเฝอะ เฟอะ ลองทำดูนะครับ
เสียง G g ตัว g มี 2 เสียง คือเสียง เบา และเสียง หนัก
G เสียงเบา จะออกเสียง เจอะ หรือ ตามชื่อของเขา คือ จี เช่น Giraffe orange gel gym อ่านว่า จิราฟ ออะเรนจ เจะล จิม ส่วน G เสียงหนัก ถ้าเราออกเสียงคำเหล่านี้จะได้เสียง G หนัก คือ เกอะ เช่น gun go game girl goose ghost good อ่านว่า กะน เกะม เกอะล กูส โกะสท กูด เป็นต้น
เสียง H h ตัวนี้อ่านว่า เอช นะครับ ไม่รู้ทำไมชอบได้ยินคนออกเสียงเป็น เฮช คำเหล่านสี้ต้องออกเสียง เหอะ เช่น Hot House Home Hand ham ออกเสียงว่า ฮอะท เฮาส โฮม แฮนด แฮม เสียงที่เราต้องออกเพื่อให้ได้คำเหล่านี้คือ เฮอะ หรือ เหอะ นั่นเอง
ต่อไป เสียง เจอะ หรือ J j ลองออกเสียงคำเหล่านี้ jump jar jet jug อ่านว่า จะมพ์ จาร์ เจะท จะก(ขอให้สังเกตคำว่า jug มีตัว g ลงท้ายต้องมีเสียง g ตามหลังด้วย คือเสียง เกอะ แต่ไม่ต้องเป็น จัค-เกอะ ออกมาแรง ๆ แค่ออกเกอะในลำคอเบาๆให้พอมีเสียงพอสังเกตก็พอ )
ตัว เคอะ หรือ เขอะ K k ลองออกเสียงคำเหล่านี้ kick kite kitchen king kiss ออกเสียงเป็น คิค ไคท คิทเช่น คิง คิส
ตัว L l ตัว L ถ้าเราวางตำแหน่ง ลิ้นไว้หลังฟันหน้าด้านในติดกับเพดานเราก็จะได้เสียงของตัว L ที่ ถูกต้องขอให้ลองออกคำเหล่านี้ lion love leg lemon lock look อ่าว่า ไลออน โลฟ เละม ออน ลอะค ลุค
ขอให้สังเกตุคำที่ลงท้ายด้วย L ก็ต้องออกเสียงเหลอะหรือ แอล ตอนจบ ด้วยนะครับ เช่น oil ออ-อิล หรือ style สไต-อิล
ตัว M m จะออกเสียง เหมอะ อย่างคำเหล่านี้เช่น moon monkey money man map อ่านว่า มูน มะงกี้ มะนนี่ แมะน แมะพ
เสียง N n ลองออกเสียงเนอะ อย่างคำเหล่านี้เช่น noon name nail nine new อ่านว่า นูน เนะม เนะล ไนล นะยู เสียง ที่เราได้คือเสียง นือ ที่ค่อนข้างขึ้นจมูก ลองสังเกตุคำว่า wine เราต้องออกเสียง n ไว้ ข้างท้ายคำด้วย ไม่อย่างนั้นเราจะได้เสียงของคำว่า Why ซึ่งกลายเป็นคนละคำ คนละความหมายไปเลย นี่แหละ ถึงได้ย้ำนักย้ำหนาว่าออกให้ถูกน๊า
เสียง P p เพอะ ก็ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดู เช่น pan ponds paper pocket pen party ออกเสียงว่า แพะน พอะนส เพเพอร์ พอกเก็ท เพะน พาร์ตี้ เสียง P ที่เราได้คือเสียง เพอะ ส่วนเสียงท้ายของคำที่ลงท้ายด้วย P ก็ต้องออกเสียงด้วยเช่นกัน เช่น cup แต่เราไม่ต้องออก คัพ-เพอะ ออกมาขนาดนั้น แค่เปิดริมผีปากนิดหน่อยแล้วพ่นลมเหมือนตอนเด็กๆเราเล่นเป่ากบ เราก็จะได้เสียงของคำว่า cup ที่ถูกต้อง
เสียง Q q ลองออกเสียงคำเหล่านี้ queen quiz question quick ออกเสียงเป็น ควะอีน ควะอิซ ควะเอสชั่น ควะอิก เสียง Q ที่เราได้คือ ควะ หรือคล้าย ๆ กับเสียงที่เป็ดร้อง
ตัว R r เสียงของตัว R ถ้าเราจะทำเสียงเหมือนตอนที่เรากลั้วคอตอนเช้า หรือทำเสียงที่เวลาเด็กๆ เล่นรถ แล้วทำเสียง รื่น รื่น ก็จะได้เสียงของตัว r ที่ถูกต้องค่ะ rat run rabbit ring road red read คำที่ลงท้ายด้วย r ก็ต้องมีเสียง r ข้างท้ายด้วยนะครับ เช่น คำว่า car river
ยังเหลืออีกหลายตัวครับ แต่ขออนูญาติพอแค่นี้ก่อน เพราะคงเมื่อยทั้งคนอ่านคนพิมพ์แล้วมั๊งครับ 5555

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2552

Conversation Print out ( 18 Mar 2009)

วันนี้ รับรองไม่มีอะไรเล่ามาก แค่อยากบอกข่าวดว่า ตอนนี้ หาวิธีทำให้พวกเรา download ไฟล์บทเรียน ทั้งที่สอนไปแล้ว และ บทเรียนที่จะแจกล่วงหน้าได้แล้วครับ โดยสามารถ คลิกที่ Link ที่แนบมานี้ เท่านี้เอง เราก็สามารถเปิดไฟล์และ Download ไฟล์ได้
อ้อ วันนี้ชั้นเรียนที่เรียนเรื่อง การสนทนา อย่างง่ายๆไป คนที่ไม่ได้เข้าก็โหลดได้นะ เอาไปอ่านเล่น ไอเดียที่อยากเล่าก็คือว่า สถานการณ์ต่างๆที่ยกตัวอย่างในชั้นเรียน หรือที่ปรากฎในเอกสารนั่น ไม่ใช่ว่า ต้องพูดตามนั้นนะ แต่อยากนำเสนอไอเดียว่า ชาวบ้านชาวช่องเค้านิยมพูดกันแบบไหน ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์เก๋ๆ ว่าเออ น่าจะพูดแบบนั้นแบบนี้ ก็ลองพูดดูได้ อย่างที่เราฝึกกันในห้อง
น่ะ ทำถูกแล้ว ใครที่โชคดีได้คุยกับผม ( หรือโชคร้าย ) ก็อาจพบว่า โหดจังเลย อย่าคิดมากนะครับ เพราะว่า อยากสร้างสีสันในห้องเรียน ให้ทุกคนผ่อนคลาย ในชีวิตจริงเวลาคุยกับฝรั่ง เค้าไม่กวนโอ๊ย แบบนี้หรอกครับ สบายใจไก้ ( เอ หรือ อาจจะหนักกว่านี้ก็ไม่รู้ 5555)
อยากฝากนิดนึงว่า เวลาที่เราคุยกันในชั้นเรียน ทำตัวสบายๆ พอกายสบาย ใจมันก็สบาย พอทุกอย่างรู้สึกสบาย การพูดการจาก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติ อัตโนมัต สักพัก เราจะรู้สึกว่า เอ เราก็พูดได้เหมือนกันนะ ( พูดผิดพูดถูกอีกเรื่องนึงนะ 555 )
ขยันพูดนะ คิดดูสิ ตอนเเป็นเด็ก กว่าเราจะพูดได้มันนานแค่ไหน เพราะฉะนั้น อย่าใจร้อน แต่จำไว้อย่างนึง ตอนที่เราพูดเป็นแล้ว พยายามหาวิธีทำให้มันหยุดพูดทีเหอะ ถึงตอนนั้น พูดเป็นไฟ ไม่ยอมหยุดแล้วจะหาว่าไม่บอกล่วงหน้า
เอ้า คลิกเลย ข้างล่างนี้
http://www.mediafire.com/?sharekey=5507b5f4504eb09cd6baebe61b361f7ce04e75f6e8ebb871
ถ้าคลิกไม่ได้ให้ใช้วิธี Copy http:// ข้างบนทั้งหมดไปแปะบน address แล้วค่อยโหลดนะครับ ลองดูครับ

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

Adjective และ Adverb (ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2552)

สอนเรื่องนี้ทีไร เป็นต้องได้รับคำขอร้องให้ช่วยสรุปทุกทีไป ทั้งๆที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายแสนง่าย และ สนุกแสนสนุก ถ้าจะเปรียบเทียบเล่นๆ Adj และ Adv (ชื่อเล่นของ Adjective และ Adverb ที่คนไทยชอบใช้กัน 5555 ) มีไว้เพื่อให้คนที่ต้องการสื่อสารข้อมูล ใช้บรรยาย สิ่งที่ต้องการพูดให้มันดูอลังการ มีสีสันเพิ่มขึ้น เช่น สมมติว่าจริงแล้ว เราอยากบอกว่า ฉันมีแมวตัวนึง (I have a cat.) รู้เรื่องมั๊ย รู้เรื่อง เพราะว่า ฉันต้องการบอกแค่ว่าฉันมีแมว 1 ตัว จบ แต่คนพูดก็อยากอวดว่าแมวฉันเนี่ย มันเดิร์นมากไง ก็เลยต้องบอกว่า ( I have a very very cute little black Siamese cat .) เนื้อหาหลักเหมือนเดิม คือ ฉันมีแมวตัวนึง แต่ใส่สีใส่ไข่ซะเห็นภาพเลยว่า ฉันมีแมวไทยสีดำตัวเล็กๆน่ารักๆมากๆตัวนึง จากเดิมเคยพูด 4 คำ I have a cat กลายมาเป็นพูดซะเป็นรถไฟเลย ล่อไป 10 คำ ทีนี้ รู้หรือยังว่า ทำไมเวลาเราฟังคนฝรั่งพูด หรือ คนไทยที่พูด ภาษาอังกฤษเก่งๆพูด เราก็จะมานั่งชื่นชม อุ๊ย ทำไม พูดเก่งจัง พูดประโยคยาวเป็นวา เลย จริงๆ ไม่มีอะไรหรอก ใส่เครื่องปรุงเยอะแยะ อย่างที่เล่านั่นเอง
แต่จะพูดตามตรง ฝรั่งเค้าก็ไม่ค่อยชอบให้ใส่เครื่องทรงเยอะๆแบบนี้เท่าไหร่หรอกนะ เพราะฟังแล้วน่ารำคาญ เท่าที่เคยเจอในกรณีที่คุยกันเป็นงานเป็นการ เค้าอยากฟังสั้นๆ แค่ I have a cat. ก็พอ แต่คนไทยบอกว่าไม่เดิร์น ฉันชอบแบบพูดยาวๆ ถ้างั้นคุณมาถูกทางแล้ว ถ้าอยากพูดประโยคยาวๆเก่งๆ มาทางนี้เลย adj + adv ช่วยคุณได้แน่ๆ ถ้าพูดกันเชิงวิชาการแล้วละก็ Adjective ก็คือ คำคุณศัพท์ ( ฟังดูดีขึ้นหน่อยมั๊ยเนี่ย ) ทำหน้าที่ขยายคำนาม ( ขอย้ำนะว่า ขยายได้แต่คำนามเท่านั้น ) มีรายละเอียด ดังต่อไปนิ้ ( ไม่ต้องจำนะว่ามีกี่ประเภท เพราะไม่ได้ออกข้อสอบ 555 เอาแค่รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ขอให้รู้ว่า คำไหนเป็น adj ก็พอแล้ว คนที่เรียนในชั้น จะสังเกตได้ว่า เราไม่เคยสนใจเลยว่ามันเป็นประเภทไหน แต่ขอให้รู้ว่ามันเป็น adj แค่นี้ก็เอาไปใช้งานได้แล้ว )
1. Descriptive Adjective บอกลักษณะคุณภาพของคน สัตว์และสิ่งของเช่น young, old, rich, new, god, black, clever, happy, beautiful ( สังเกตนะ เวลาเราใช้ เราเอาไว้หน้านาม อย่างเช่น young boy , beautiful lady etc. หรือไม่ก็หลัง Verb to be เช่น We are rich , he is clever เป็นต้น )

2.Possessive Adjective แสดงความเป็นเจ้าของเช่น my, your, his, her, their, our, its ( สังเกตดูสิ เวลาเราใช้ เราเอาไว้หน้านาม อย่างเช่น My dog , your paper , his book , her bag etc. หรือไว้หลัง Verb to be เช่น this is our house เป็นค้น)
3.Quantitative Adjective เอาไว้บอกปริมาณมาก หรือ น้อยของนามที่นับไม่ได้ เช่น some, half, little, much ,enough เป็นต้น
4.Numeral Adjective เอาไว้แสดงจำนวนมากน้อย ของนามที่นับได้หรือแสดงลำดับก่อน- หลังของคำนามเช่น one , two, first, second , many เป็นต้น
5. Demonstrative Adjective เป็นคำคุณศัพท์ที่เอาไว้ชี้เฉพาะคำนาม เช่น this, that, these, those ไง
6. Interrogative Adjective interrogate แปลว่า สอบถาม เพราะฉะนั้น ก็เลยเป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้แสดงคำถาม เช่น which, whose, what เป็นต้น ก็เลยมักจะวางอยู่หน้าประโยคคำถาม ตัวอย่างเช่น Whose dog is this ? ( หาตัวนี้เป็นของใคร ) Which way shall we go ? ( เราควรไปทางไหนดี ) เป็นต้น -
7. Proper Adjective ก็คือคำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อประเทศ ทำหน้าที่ ขยายคำนามซึ่งมีความหมายว่า “เป็นของ หรือจากประเทศนั้นๆ ตัวอย่างเช่น Siamese cat ไม่ได้แปลว่า แมวเป็นชาวสยาม แต่แปลว่า เป็นแมวจากประเทศสยาม แหม ตัวอย่างมีแต่ หมาๆแมวๆ เนอะ 5555
8. Distributive Adjective แสดงการแบ่งแยกหรือจำแนก เช่น each, every, either, neither เป็นต้น
ก็มีแค่แปดอย่างนี้แหละ ผมก็จำไม่ได้หมดหรอกว่ามีชื่ออะไรมั่ง แต่อย่างที่บอกแหละว่าไม่สำคัญ แต่เมื่ออยากรู้ก็เลยเล่าให้ฟังเท่านั้นเอง มาพูดเรื่องตำแหน่งของคำคุณศัพท์ ( Positions of Adjective) กันดีกว่า
1. วางไว้หน้าคำนาม เช่น P’Aui wears a black suit. ( พี่อุ้ยใส่สูทสีดำ ) Khun Tor is a good guy. ( คุณต่อ เป็นคนดี ) เป็นต้น
2. วางไว้หลัง Verb to be และ Linking Verbs เช่น
Khun Warn is kind.( คุณ หวานเป็นคนใจดี ) หรือ I feel exhausted. ( ผมรู้สึกเพลียจังเลย )
อ้อ หมายเหตุ อธิบายเพิ่มนิดนึงนะ Linking Verb คือคำกริยาที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง subject กับ adjective ที่ตามมา ซึ่งมักเป็นคำที่บอกความรู้สึก ที่คนพูดรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น look , seem , sound ,taste , smell , turn , keep , feel , appear , grow , get , become , go เป็นต้น ตัวอย่างเช่น This Som-Tum tastes good. ( ส้มตำจานนี้ อร่อยจัง ) The soap smells sweet. ( สบู่กลิ่นห๊อมหอม ) Khun Mai looks tired. ( คุณ ไม้ดูเหนื่อยๆ )
แต่ก็มี Adjective บางตัว ที่มีข้อยกเว้นว่า จะต้องวางไว้หน้าคำนามเท่านั้น (ห้ามวางไว้หลัง Verb to be และ Linking Verbs เด็ดขาด) เช่น only (เพียง) upper (ข้างบน) former (แต่ก่อน) chief (สำคัญที่สุด) inner (ภายใน) outer (ภายนอก) main (สำคัญ) wooden (ทำด้วยไม้) golden (ทำด้วยทอง) principal (หลักสำคัญ) elder (สูงวัยกว่า) eldest (สูงวัยที่สุด) drunken (ขี้เมา)
เอาเท่านี้ก่อนนะ รู้สึกมึนๆหัวแล้ว เดี๋ยววันหลังมาต่อ อ้อ หรือไม่ก็ไปต่อในห้องเรียนดีกว่า 5555

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

13 มีนาคม 2552 ( Phonics 2)






เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราได้หัดลอง ผสมคำแบบง่ายๆไปแล้ว ทั้งในชั้นเรียน และที่สรุปให้ฟังไปใน blog ใครทำได้แล้วก็ขอให้ฝึกฝนต่อไป คนที่ยังทำไม่ได้ก็อย่าเพิ่งท้อถอย ผมขอเป็นกำลังใจให้ ผมเคยยกตัวอย่างว่า การฝึกภาษาจะเปรียบไปก็เหมือนกับการหยอดกระปุกเพื่อซื้อจักรยานสักคันหนึ่ง สมมติจักยานราคา 1000บาท ถ้าเราหยอดทุกวัน วันละบาท ก็ 3 ปีกว่าก็จะได้จักรยาน 1 คัน ( ถ้าราคามันไม่ปรับซะก่อนนะ 5555 ) แต่ถ้าเราหยอดไม่ไม่หยอดมั่ง มันก็คงจะยืดเวลาการครอบครองจักยานออกไปอีก เพราะฉะนั้น หมั่นสะสมนะครับ ผมเองก็ใช้วิธีนี้เหมือนกัน มันได้ผล เลยบอกต่อ

เอาล่ะ สมมติว่าตอนนี้ เราได้พื้นฐานของการผสมคำกันเบื้องต้นแล้ว แต่ในชีวิตจริงๆของเรา เราคงไม่ได้เจอแต่คำเหล่านี้ เพราะว่า จริงๆแล้ว มันยังมีคำที่มีเสียงควบกล้ำ อย่างคำว่า Spring อ่านว่า สะ ปริง เสียงควบจากการออกเสียง p + r พร้อมๆกัน เราก็ต้องออกให้ครบทุกเสียงด้วย และนี่คือจุดที่สำคัญยิ่งของการฝึกภาษาอังกฤษ พวกเราคงโดนเคี่ยวเข็ญกันในชั้นเรียนแล้วว่าเอ ทำไมครูเข้มงวดจังเลยเวลาพูดแล้วไม่มีเสียง S R T K ฯลฯ ก็เพราะว่า เสียงต่างๆเหล่านี้ หากเราออกเสียงขาดไปแม้แต่เสียงเดียว ความหมายจะเพี้ยนไปทันที ตัวอย่างเช่น คำว่า Fly กับคำว่า Fry คำหลัง อ่านว่า ฟราย เสียงตัวอาร์ ส่วนคำแรกอ่านว่า ฟลาย เสียงตัวแอล หูฝรั่งนั้นเขาฟังปุ๊บแยกทันทีว่าเราพูดถึงคำไหน ระหว่างคำว่า บิน กับคำว่า ทอด ภาระจึงตกอยู่กับผู้ส่งสาร คือ คนพูด ที่จะต้องพูดให้ชัด เพื่อให้ผู้รับสาร แปลให้ตรงกันกับข่าวสารที่ต้องการสื่อ ( พูดไปเหมือนวิชาการซะเหลือเกิน คนสอนเองก็เหนื่อยเหมือนกัน 5555 )

กลับมาเล่าต่อ อย่างที่บอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเจอกับคำง่ายๆตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน วันนี้ ผมจึงขอเสนอวิธีการฝึกในขั้นต่อไป คือการอ่าน หรือ เราอาจเรียกให้เก๋ๆก็ได้ว่า Phonics Reading ซึ่งก็คือการฝึกหัดอ่านบทความที่เน้นเสียงหลัก แต่ละเสียง ผมได้แนบไฟล์มาให้ โหลดกันด้วย เพื่อให้คนที่สนใจเอาไปฝึกอ่านกัน แน่นอนแหละว่า ในแต่ละบทความนั้น จะต้องประกอบด้วยหลายเสียงหลายแบบหลายเทคนิก แต่อยากให้สังเกตว่า แต่ละ บทความสั้นๆนั้น เราจะเน้นเสียงใดเสียงหนึ่ง โดยดูได้จาก คำต่างๆที่ใช้นั้น ส่วนใหญ่เป็นเสียงใด ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง A Map นั้น ก็จะน้นเสียง แอะ (A) เรื่อง Hot Rod ก้จะเน้น เสียง ออะ (O) เป็นต้น

ลองโหลดไปฝึกดู สงสัย ติดขัดตรงไหน ไว้เราไปถกกันต่อในห้องเรียน คนที่ไม่ฝึก เวลาอ่านจริงๆ เสียงมันจะฟ้องเลยว่า ไม่เข้าใจ ส่วนคนที่ลิ้นแข็งแล้ว ไม่ต้องกังวล เพราะว่า เราไม่ได้ต้องการ Accent ฝรั่ง แต่เราต้องการวิธีการออกเสียงที่ถูกต้อง ขออนุญาตยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ อีกเรื่องสำหรับคนที่กังวล เรื่องAccent อยากบอกแบบนี้ว่า เราคงเคยเห็นคนเหนือ มีสำเนียงแบบหนึ่ง ต่อให้พูภาษากลาง เราก็พอเดาได้ว่ามาจากภาคไหนยิ่งคนใต้ยิ่งชัด เพราะจะมีสำเนียงเฉพาะ นั่นแหละ ต่อให้เราพูดฝรั่งได้คล่องแค่ไหน ถ้าเราไม่ได้เกิดที่นั่นหรือ ไปเรียนตั้งแต่เล็กๆ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะมี Accent ฝรั่ง แต่ที่เราได้คือ international accent ซึ่งสามารถฟังและพูดได้กลมกลืนกับทุกชาติทั่วโลก และจากการที่ได้คุยกับคนต่างชาติ เค้าก็ชอบสำเนียงไทยเวลาพูดอังกฤษมากๆ มันป็นเอกลักษณ์ เหมือนเวลาที่เราคุยกับเพื่อนที่มาจากอีสาน หรือ ภาคอื่นนั่นแหละ ลึกๆแล้วเราก็รู้สึกดีกับสำเนียง หรือกลิ่นอายของเอกลักษณ์ในความเป็นภาคต่างๆเช่นกัน หรือไม่ใช่?

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552 : คำศัพท์สำคัญจริงๆนะ

หนึ่งในปัญหาที่เจอบ่อยๆก็คือ คนไทย อยากพูด อยากเก่ง อังกฤษ แต่ไม่รู้คำศัพท์ ลองนึกดูง่ายๆก็ได้ว่า เรามีอาการอย่างที่ว่าหรือไม่ อยากพูดแต่นึกศัพท์ไม่ออก ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ สงสัยว่าเราอาจจะเข้าข่ายนี้ ก็ต้องแก้ไข ซึ่งไม่มีวิธีอะไรจะดีไปกว่าการท่องศัพท์อีกแล้ว อย่าไปเชื่อใครว่าอ่านบ่อยๆแล้วจะรู้ศัพท์เยอะ วิธีที่ว่า เหมาะสำหรับคนที่รู้คำศัพท์มากในปริมาณหนึ่ง ถ้าเกิดรู้ศัพท์น้อย แล้วยังหาญกล้าไปอ่านอะไรยากๆเข้า วันแรกยังพอทน วันที่สองก็กัดฟันทน พอวันที่สามสี่ อาจจะร้องออกมาว่า กูไม่เอาแล้วโว๊ย เพราะอ่านไม่รู้เรื่อง แถมขี้เกียจเปิดคำศัพท์
ขอร้อง และ รบกวนให้ช่วยทำอย่างที่แนะนำ ใช้วิธีท่องศัพท์วันละ 10 คำก็พอ ไม่ต้องมาก คิดดูดิ เดือนนึง 30 วัน แป๊บเดียว เราก็มีคลังคำศัพท์ในหัวตั้ง 300 คำแล้ว พอสัก 2-3 เดือนเราก็รู้ศัพท์เพิ่มเป็นพันคำ ถึงตอนนั้น เราก็เริ่มอ่านบทความสั้นๆ พอรู้เรื่องแล้ว จากนั้น เราก็ค่อยๆพัฒนาไปอ่านอะไรที่ยากขึ้น ถึงตอนนั้น เชื่อมั๊ยว่าคุณจะรักภาษาอังกฤษไปโดยอัตโนมัติ แบบไม่รู้ตัวเลย
ส่วนการตความหมายของประโยคที่อ่าน ไม่ยากเลย หลังจากที่เรารู้ความหมายของคำศัพท์ต่างๆแล้ว เราก็จะมาอธิบายกันถึงหน้าที่ของคำแต่ละคำในประโยค ทำไมคำนี้เคยแปลว่าอย่างนี้ แต่พอมาเข้าประโยคนี้ กลับแปลอีกอย่างนึง ยกตัวอย่างเช่น Flys have six legs . แปลว่า แมลงวันมีหกขา
As a pilot,I flys to Tokyo 5 days a month. แปลว่า ผมทำงานเป็นนักบิน ผมก็เลยต้องบินไปโตเกียวสัปดาห์ละ ห้าวัน จะเห็นได้ว่า ทั้งสองประโยค มีคำว่า flys เหมือนกันเปี๊ยบ แต่ประโยคแรก แปลว่า แมลงวัน เพราะประโยคแรก คำนี้ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ส่วนประโยคที่สองแปลว่า บิน เพราะประโยคนี้ มีประธานเรียบร้อยแล้วคือ I ดังนั้น Flys ในประโยคนี้จึงทำหน้าที่เป็นกริยา นี่แค่ sample เอาไว้จะยกตัวอย่างให้ฟังในคราวต่อไปนะครับ เอาเป็นว่า ไปทำตามที่แนะนำก่อนนะ นักเรียนที่น่ารักทุกคน แล้วคราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 9 มีนา 2552 เราจะฝึกภาษาอังกฤษได้ยังไงบ้าง

ทุกคนคงจะคิดว่า การฝึกภาษาอังกฤษนั้น ควรจะต้องทำกันเป็นเรื่องเป็นราว ต้องไปฝึกกันในห้องเรียน หรือ สถาบันสอนภาษาที่เปิดกันเป็นดอกเห็ดอยู่ทั่ว กทม แน่ๆ
อยากบอกว่า จริงแล้ว ไม่จำเป็น เพราะภาษาอังกฤษ ตอนนี้ ใครๆก็คงจะไม่ปฎิเสธว่าเป็นภาษาสากล หรือเป็นภาษาที่สองของเราไปแล้ว ไปที่ไหนก็เจอแต่ภาษาอังกฤษ ( ทั้งๆที่เราไม่ได้เป็นเมืองขึ้นของเค้าซักหน่อย แล้วทำไม๊ ทำไมเราต้องมาใส่ใจด้วยน้า 555 )
สำหรับ คนที่ยังไม่เก่งภาษาอังกฤษ อยากให้กำลังใจว่าใจเย็นๆ แหม คิดดูดิ กว่าเราจะพูดภาษาไทยได้ บ้างก็ปาเข้าไป 3-4 ขวบแล้ว นี่แค่เตาะแตะนะ แล้วกว่าจะพูดเป็นเรื่องเป็นราวก็เกือบ 10 ขวบโน่น นี่ขนาดภาษาประจำชาติเรานะเนี่ย เราได้เห็นได้ยิน ได้อ่าน ได้พูด ทุกวันยังใช้เวลานานขนาดนี้ แล้วเราอยากจะพูดภาษาที่เราไม่ได้ใช้ทุกวัน คงต้องใช้เวลากันหน่อย แต่ก็ไม่ใช่ว่า เราต้องไปอยู่เมืองนอกซะเมื่อไหร่ ทั้งๆที่เป็นวิธีที่ดี วิธี นึงที่จะทำให้เราเป็นเร็วขึ้น ( อ๋อ แน่นอน เพราะว่า เค้าพูดภาษาอังกฤษกันทั้งประเทศ ทั้งวันทั้งคืนพูดไม่ได้ก็แย่แล้ว 555 )
วิธีง่ายๆ ที่อยากแนะนำก็คือ พยายามหัดอ่านพวกป้ายต่างๆที่เป็นภาษาอังกฤษ อัไนไหนอ่านได้ก็แล้วไป อันที่อ่านไม่ออกก็จำไปถามผู้รู้ อันที่ไม่รู้คำแปล ก็เปิดดิก ( เออ นี่ก็อีกวิธีที่ทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้ ) หรือไม่ก็ถามคนที่รู้ก็ได้ เวลาไปไหน กับเพื่อนๆ ก็เล่นเกมส์กับเพื่อนๆกันตอนเดินทางก็ได้ อย่างพวกทายคำศัพท์อะไรอย่างเนี้น แป็บเดียวก็เก่ง จนคุณงง
สำหรับคนที่เก่งอยู่แล้วเราก็สามารถเก่งขึ้นได้ โดยทำตัวเป็นที่พึ่งที่ดี ให้กับน้องๆ หรือเพื่อนๆ ในการบอกความหมายหรือแนะนำต่างๆ อันที่ไม่รู้ ก็บอกไปเลยว่า ไม่รู้ ( เพราะไม่มีใครรู้ทุกอย่างหรอกน่า ) แต่ก็บอกว่า จะไปค้นมาให้ ทำตัวแบบนี้ นอกจากจะเก่งภาษาอังกฤษขึ้นแล้ว ยังได้มิตรภาพกลับมาเป็นของแถมอีกต่างๆ
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คิดออกกันมั่งหรือเปล่า ว่า เราจะฝึกฝนภาษาอังกฤษได้ยังไงบ้าง เท่าที่ผมนึกออกก็น่าจะมี การอ่านบทความภาษาอังกฤษ ( แบบออกเสียง หรือไม่ออกก็ได้ แต่ถ้าออกเสียง เราจะได้ฝึกสำเนียงด้วย ซึ่งอันนี้ วิธีนี้ Highly Recommend ) เล่น เกมส์ เกี่ยวกับการเพิ่มพูนศัพท์ อย่าง สแคร๊บเบิลก็ได้ หรือ Hangman ก็น่าจะดี ( โอ๊ย เราสามารถหาเกมส์พวกนี้ ได้ จากคอมพิวเตอร์ที่ทำงานของพวกเรานั่นแหละ ( แต่ต้องตอนว่างนะ ไม่ใช่เอาเวลางานไปเล่น โดนด่า แล้วจะมาโทษกันไม่ได้เน้อ 5555) หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ หรือพวกนิตยสาร เดี๋ยวนี้ก็เห็นมีเยอะแยะ เราอาจจะเลือกหัวข้อที่เราสใจ อย่างดูดวงเค้าก็ทายกันแม่นจะตายไป หัดเอามาอ่านมั่งก็ดี
ดูหนังก็เป็นอีกวิธีนึง แต่อาจเปลืองหน่อย ดูหนังที่เป็น SoundTrack นะ ไม่ใช่พากษ์ไทย พยายามฟังหน่อย ข่าวก็อีก ฟังเข้าไป ไม่นานคุณจะประหลาดใจว่า เฮ้ย เราฟังรู้เรื่องแล้ว แต่ตอนนี้เมื่อยมือแล้ว ขอต่อคราวหน้านะครับ

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

Phonics 1 ( 06 March 2009)

จากประสบการณ์ที่ผมเคยได้มีโอกาสสอนให้เด็กไทยหัดอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทำให้ผมรู้ว่า จริงๆแล้วปัญหาหนึ่งของการศึกษาของระบบการศึกษาของไทยก็คือ เด็กไทยอ่านหนังสือไม่ออก ขอย้ำว่า อ่านหนังสือไม่ออกจริงๆ ผมเคยสอนนักเรียนระดับมัธยมต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่ง แปลกใจว่าทำไมเด็กตัวโตขนาดนี้ อ่านไม่ออกแม้แต่คำง่ายๆ ตอนแรกผมนึกว่าเด็กแกล้ง เลยลองเอาแบบเรียน( ภาษาไทยให้ลองอ่านดู แต่เป็นวรรณคดีไทย ) ปรากฏว่าเด็กจะอ่านจากความทรงจำ หมายความว่า ถ้าเด็กเคยเห็นคำนั้นมาก่อนและจำได้ว่า เคยอ่านคำนั้นได้ ก็จะจำได้ ออกเสียงได้ แต่ถ้าคำนั้น ไม่เคยเห็นมาก่อน ให้เวลาผสมคำเท่าไหร่ก็อ่านไม่ออก ยกตัวอย่างเช่น เคยเห็นคำว่า น้ำ ก็สามารถอ่านออกได้ แต่พอเราแกล้งเขียนเป็นคำว่า ม้ำ เด็กคนเดิม บอกว่า อ่านไม่ออก
ลองนึกดู ก็เหมือนกับการสอนผู้ใหญ่เหมือนกัน ต้องขอบอกว่า ปัญหาที่ว่า ไม่ได้เกิดกับเด็กไทยเท่านั้น ผู้ใหญ่ไทย หลายคน ( ที่ไม่ใช่ GHB staffs นะ 5555 ) ก็อ่านไม่ยักจะออก แฮะ ทั้งๆที่การอ่านหนังสืออก โคตรจะจำเป็นและมีประโยชน์อย่างมากๆๆๆๆๆ เพราะ เอกสาร การติดต่อ กับผู้คน แม้แต่ อินเตอร์เน็ต ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่า เป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ยังพึ่งพาการอ่านเป็นส่วนใหญ่
การอ่านหนังสือออก นอกจากจะมีประโยชน์ในการของการพัฒนาความรู้ความสามารถ การติดต่อสื่อสารแล้ว ยังสามารถทำให้โชคลาภเข้ามาตัวเราได้ด้วยนะ อย่างเช่น เราอาจจะไปอ่านเจอคอลัมน์อะไรเด็ดๆ แล้วเรารู้คำตอบ ( ที่ได้จากการอ่านนั่นแหละ ) พอเราส่งไปชิงรางวัลก็ได้รางวัลมาอะไรเทือกเนี้ย ตัวอย่างนี้รู้สึกจะเว่อร์ไปหน่อย 5555 เอาล่ะ ในเมื่อเรารู้แล้วว่าการอ่านหนังสือออก ทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีได้ถึงเพียงนี้ เราก็มาออกเสียงภาษาอังกฤษกันเถอะนะ
ทีนี้ จะอ่านแบบธรรมดา เราก็คงเข้าใจภาษาของเราคนเดียว ไหนๆจะอ่านหนังสือทั้งที เราคงอยากจะอ่าน หรือ ออกเสียง ให้คนที่รู้ภาษาอังกฤษ เข้าใจว่า เราจะพูดว่าอะไรถูกมั๊ย อย่างเช่นคำว่า Vanilla ร้อยทั้งร้อย คนไทยจะอ่านว่า วะ-นิ-ลา รับรองว่า พอไปถึงเมืองนอก แล้วอยากกินไอศกรีม รสนี้พูดจนคอโป่งก็ไม่ได้กิน เพราะคำนี้ คนทั่วโลกเค้าออกเสียงกันว่า ว่ะ-นิ้ล-หล่า ( ที่เขียนนี่ ก็ไม่เหมือนที่ออกเสียงจริงนะ แต่หาตัวหนังสือภาษาไทยที่ออกเสียงใกล้เคียงกว่านี้ไม่เจอ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากรู้ ต้องเข้าเรียนนะครับ ทุกวันศุกร์ เวลา 11.45-13.15 น, ชั้น 14 โฆษณาซะเลย 5555)
ตัวอย่างนึง ที่ผมชอบยกตัวอย่างให้นักเรียนฟังก็คือ กรณีคนไทยใหญ่ที่เข้ามาทำงานที่ กทม แล้วพูดไม่ชะ ( ไม่ชัด ) เวลาพูดอะไร ไม่มีตัวสะกด อย่าง จะบอกว่า วันนั้น ฉันไปกินข้าว อร่อยมาก เรามักจะได้ยินคนเค้าล้อกันว่า วาน้า (วันนั้น ) ช้าปากีข้า ( ฉันไปกินข้าว ) อาหร่อม่าม่า ( อร่อยมากๆ ) ถามจริงๆว่า ในฐานะคนไทย พอได้ยินแบบนี้ รับรองว่าเราจะพยายามฟังให้ได้ว่า คนพูดพยายามจะสื่อสารอะไร ในที่สุดเราก็พอจะเข้าใจได้( มั๊ง ) ว่า วันนั้น คนพูดไปกินข้าว อร่อยมาก ทำนองเดียวกัน เวลาฝรั่งฟังคนไทย( ที่พูดไม่ชัด ) พูดภาษาอังกฤษ ถ้าไม่น่าเกลียดจนเกินไป คนฟัง( ฝรั่ง ) ก็จะพอเดาได้เหมือนที่เราเดาคนไทยใหญ่พูดน่านแหละ คือพอรู้เรื่อง แต่ในใจเค้าจะคิดยังไง หารู้ไม่ ( แต่คงไม่ใช่ชื่นชมแน่ๆ ) รู้อย่างนี้แล้ว เรายังจะ พู่พาสาอากิม่าชะ ( พูดภาษาอังกฤษไม่ชัด ) อีกหรือ
สรุปก็คือว่า การออกเสียงภาษาอังกฤษให้ชัด มีความสำคัญกับการพูดและการฟังอย่างยิ่ง ถ้าเราออกเสียงไม่ถูกต้อง ผู้ฟังก็จะฟังเราไม่เข้าใจและเราก็จะฟังผู้พูดที่เป็นเจ้าของภาษาไม่เข้าใจด้วยเหมียนกัน หลายๆครั้งที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษที่เป็นสำเนียงไทยจนเคยชิน เมื่อต้องพูดกับชาวต่างชาติเราก็จะออกเสียงนั้นๆ ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติฟังแล้วงงๆ ไป ( แม้จะพยายามเดาแบบสุดฤทธิ์ ) หรือหลายๆ ครั้งเราไม่ได้ออกเสียงท้ายของคำเพราะไม่เห็นความจำเป็น ( อันนี้คนไทยเป็นเยอะมากกกกก เพราะภาษาเราไม่มีเสียงท้าย เราก็เลยไม่รู้ว่ามันจะออกไปทำไม แต่ภาษาอังกฤามันมี นี่แหละ ปัญหาแหละ ) หรือไม่อย่างนั้นพอออกเสียงถูกต้อง ก็ถูกคนรอบข้างมองว่าดัดจริตไปนั้นเลย เราต้องมาปรับความเข้าใจกันใหม่นะครับ ถ้าต้องการพูดภาษาอังกฤษให้เพราะ ให้ดี ให้เหมือนเจ้าของภาษาก็ต้องพยายามออกเสียงให้เหมือนหรือคล้ายเจ้าของภาษาที่สุด จะสำเนียงไหนก็แล้วแต่ขอให้ความถูกต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าจะสอนเด็กๆ แล้วยิ่งสำคัญเพราะเขาจะจำในสิ่งที่เราสอนครั้งแรกไม่มีวันลืมเลือนเลย ถ้าสอนถูกแต่แรก รับรองว่าสิ่งนั้นจะติดตัวเขาไปตลอดชาติ ปู๊นเลย
เรามาเริ่มกันจาก A B C กันเลยนะครับ
Alphabet ตัวอักษรภาษาอังกฤษเราทราบกันแล้วว่ามีทั้งหมด 26 ตัว
แบ่งเป็น พยัญชนะ 21 ตัว ภาษาอังกฤษเรียกว่า Consonants และสระอีก 5 ตัว ภาษาอังกฤษเรียกว่า Vowels
ตัว A ตัว B ตัว C เมื่อเรายังเด็กๆ คุณครูสอนให้เราเรียกชื่อว่า เอ บี ซี นั้น คุณครูสอนถูกแล้วนะครับ แต่เสียงจริงๆของมันนั้น เป็นอย่างนี้นะครับ
Vowels สระมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว
สระเสียงสั้น Short A sound เช่นคำว่า apple เราออกเสียงว่า แอะพ - เพิล เสียงของ ตัว A เสียงสั้นจึงเป็นเสียง แอะ
ยกตัวอย่างเช่น : hat cat rat fat mat bat ( แฮะท แคะท แระท แฟะท แมะท แบะท ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ที่ผมเขียนแบบนี้ ไม่ใช่ว่า ผมไม่รู้ว่าภาษาไทยเขียนยังไง แต่อยากเขียนให้เห็นเสียงที่ซ่อนอยู่ในคำนั้นๆว่า มีเสียง แอะ ซ่อนอยู่ครับ อย่าได้จำไปใช้ในชีวิตประจำวันเด็ดขาดนะครับ 55555 )
Short E sound เช่น egg เราอ่านคำนี้ว่า เอ็ก เสียงของ e เสียงสั้นจึงเป็นเสียง เอะ
ยกตัวอย่างเช่น : bed red bell ten hen pen web ( เบะด เระด เบะล เทะน เฮะน เพะน เวะป เป็นต้น )
Short I sound เช่น ink เราอ่านคำนี้ว่า อิงค เสียงของ i เสียงสั้นจึงเป็นเสียง อิ
ยกตัวอย่างเช่น : pig wig dish fish gift ( พิก วิก ดิช ฟิช กิฟท )
Short O sound เช่น fox เราอ่านคำนี้ว่า ฟอกซ เสียงของ o เสียงสั้นจั้งเป็นเสียง เอาะ หรือ ออะ
ยกตัวอย่างเช่น : box ox mop sock lock clock top doll ( บอะกซ์ ออะกซ์ มอะพ ซอะค ลอะค คลอะค ทอะพ ดอะล )
Short U sound เช่น duck เราอ่านคำนี้ว่า ดัค เสียงของ u เสียงสั้นคือเสียง อะ
ยกตัวอย่างเช่น: bug bus sub cub truck ( บะก บะส ซะบ คะพ ทระค )
วันนี้ขอพอแค่นี้ก่อนนะครับ เมื่อยมือสุดทนแล้วครับ แล้วมาต่อกันคราวหน้านะครับ

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

Noun 1

วันนี้ ประเดิมด้วยเรื่องเบาๆ คือเรื่อง คำนาม จริงๆแล้วจะว่าไป เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุดในภาษาอังกฤษ และ ภาษาไทยด้วย ถ้าทุกคนเข้าใจเรื่องนี้ได้ ต่อไป ก็จะเข้าใจเรื่องอื่นได้ง่ายขึ้น จะสามารถอ่าน บทความภาษาอังกฤษยาวๆได้โดยเข้าใจดีกว่าเดิม เพราะต่อไปเราจะรู้แล้วว่า ในประโยคๆหนึ่งๆนั้น มักจะมีคำนามอยู่ด้วยอย่างน้อยก็ซักคำสองคำแหละน่า
คำนาม หรือ Noun นั้น ง่ายมากๆ คนตั้งชื่อว่า นาม นี่ก็เก่งมากๆเลย เพราะนาม แปลว่า ชื่อ ซึ่งชื่อก็หมายถึง คำที่เราใช้เรียกสิ่งต่างๆนั่นเอง ลองนึกดูสิว่า ถ้าเกิดเราเข้าป่าแล้วไปเจอสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่มีจมูกยาวๆ มีเขี้ยวข้างงวงเรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว แต่ไม่มีใครตั้งชื่อให้มัน เวลาเราพูดถึงมันก็จะตั้งบรรยายลักษณะจนเมื่อยปาก ( ในบางครั้งอาจต้องเมื่อยมือด้วย 5555 ) ดีนะที่มีคนเรียก หรือตั้งชื่อมันว่า Elephant ซึ่งทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นเยอะ จริงมั๊ยครับ
Noun นี่จะว่าไป ที่เราเคยเรียนมา ก็มี คน ( Man woman girl boy police etc.) สัตว์ ( ant , cat , parot etc ) สิ่งของ ( Table , desk , lamp etc.) ที่เรารู้กันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ นอกจากนี้ ก็ยังมีคำที่แสดงถึงสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ด้วยนะ อย่าง Air , Universe , Space ,Sincerity เป็นต้น
เอาล่ะ ตอนนี้ เราก็รู้จัก คำนามกันอย่างคร่าวๆแล้ว คราวหน้าเราจะมาดูคำที่เกี่ยวข้องกับคำนาม และ มักจะอยู่กับคำนามอย่างกับเงาตามตัว ยังไม่บอกว่าอะไร แต่ขอบอกว่า เงาทีว่านี่ มีไม่น้อยเลยล่ะ

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

The First day , Nice to see you again !!! วันแรก ดีใจที่ได้เจอกันอีก

วันนี้ เป็นวันแรกของ ชมรม ภาษาอังกฤษ ตอนแรกผมตั้งใจว่าจะบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้คนอ่านได้ฝึกแปลและทำความเข้าใจ แต่เขียนๆไปเกรงว่า คนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษน้อยจะไม่เข้าใจ เลยต้องเปลี่ยนมาเป็นภาษาไทยแทน เอาเป็นว่า จะคอยแทรก เป็นระยะๆก็แล้วกันเพื่อให้ค่อยๆปรับตัว
บทเรียนในวันนี้ ไม่มีอะไรมาก เพราะเป็นวันแรก ทุกคนก็อาจจะกำลังปรับตัวกับกระบวนการเรียนการสอนอยู่ วันนี้ อยากจะขอเล่าซัก สองเรื่อง นะครับ
หนึ่ง เรื่องการออกเสียง และการสะกดคำของคนไทย จากประสบการณ์ของผมเอง น่าแปลกใจว่า เด็กนักเรียนสมัยนี้ จน มัธยมแล้วก็ยังอ่านหนังสือไม่ออกทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ งงมากๆ เคยให้นักเรียน มัธยมต้นโรงเรียนหนึ่ง อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ให้ฟัง ปรากฏว่า อ่านไม่ออก เป็นบางคำ บางคำเป็นคำง่ายๆ ถามดู ได้ความว่า คำที่อ่านไม่ออกเป็นคำที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยอ่านไม่ได้ ฟังดูเผินๆก็น่าจะโอเค อ้าว ก็ไม่เคยอ่านจะอ่านได้ไง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้า เราอ่านหนังสือออก คำที่ไม่เคยเห็นก็ต้องมีหลักในการผสมคำให้อ่านเป็นคำให้ได้
อย่างเช่น คำว่า ขนุน เราจะอ่านว่า ขะ-นุน หรือ ขะ-หนุน คนที่เคยเห็นคำนี้มาก่อน อ่านได้ทันทีว่า ขะ-หนุน ส่วนคนที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ถ้ารู้จักหลักการอ่านที่ถูกต้อง ก็จะสามารถอ่านได้ทันทีเช่นกัน ปัญหาจึงเกิดกับคนที่ไม่เคยเจอคำนี้มาก่อน และไม่รู้วิธีการอ่าน ก็จะอ่านไม่ออก ( ไม่เชื่อเอาคำนี้ไปลองให้เด็กที่อานไม่ออก ทดลองดูก็ได้ ) อีก คำตัวอย่างคือคำว่า พระพรหม คนที่อ่านภาษาไทยไม่ออก อยากให้ลองอ่านดูจริงๆ ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน มันก็มีหลักการอ่านเป็นคำ เป็นเสียงต่างๆ เอาอย่างนี้นะครับ วันนี้ เราได้เริ่มคุยกัน เกี่ยวกับเสียง สระในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีตัวอักษรที่เป็นสระ แบบที่เราเคยเรียนมาตอนเด็กๆอยู่ 5 ตัว คือ A E I O U ซึ่งเราเคยถูกสอนมาตั้งแต่เล็กๆว่าอ่านว่า เอ อี ไอ โอ ยู ซึ่งไม่ผิดนะครับ เพราะนั่นคือ เสียงที่เราใช้เรียกตัวอักษรนั้นๆ พูดง่ายๆว่าเป็นชื่อตัวอักษรนั่นเอง แต่ว่าจริงๆแล้ว เสียงของมัน ขอเน้นว่า เสียงต้องออก ดังนี้ครับ
A ออกเสียงว่า แอะ
E ออกเสียงว่า เอะ
I ออกเสียงว่า อิ
O ออกเสียงว่า เอาะ
U ออกเสียงว่า อะ
กรุณาอย่าเพิ่งเถียงหรือบ่นอะไรทั้งสิ้น ว่าเฮ้ย ทำไม ไม่เหมือนที่เคยเรียนตอนเด็กๆ ใครบอกล่ะ ว่าไม่เหมือน เหมือนเปี๊ยบเลย เพราะว่า ชื่อเรียกว่า เอ อี ไอ โอ ยู ยังเหมือนเดิม เพียงแต่ เราจะมาคุยกันเรื่องเสียงสระต่างหาก คุณครูที่โรงเรียนอาจไม่เคยบอกต่างหาก วันนี้ เราเอามาบอกแล้ว รีบจดรีบจำซะนะครับ เพราะ อันนี้สำคัญสุดๆเลย เนื่องจากเป็นก้าวแรกในการหัดผสมคำให้อ่านได้อย่างถูกต้อง คำศัพท์ที่เราไม่เคยเห็น เราก็จะสามารถอ่านให้ถูกต้องได้ มากกว่า 95% ( ที่ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็เพราะมันยังมีคำยกเว้นครับ ภาษาไทยเองยังมีเลย อย่าง พระพรหม ที่เรายกตัวอย่างไปเมื่อกี๊ไง แหม อชบจริงๆเลยคำนี้ เอามาพูดได้หลายที 555 เราจะมาดันทุรังอ่านว่า พระ พร หม ก็คงแปลกๆนะครับ ต้องอ่านว่า พระ-พรม จึงจะถูกต้อง )
วันนี้ เมื่อยมือแล้ว ขออนุญาตมาต่อวันหน้านะครับ ก่อนจบ ขอแทรกเรื่องการทักทายเป็นภาษาอังกฤษ อีกนิดนะครับ เพราะ คิดว่าบางท่านอาจยังไม่ทราบ
การทักทายในภาษาอังกฤษ มีวิธีการทักทายกันหลายแบบ ตามแต่ช่วงเวลา คล้ายๆกับภาษาไทย แต่เราอาจชอบพูดแค่คำว่า หวัดดี หรือ สวัสดี ส่วนภาษาอังกฤษ การทักทาย แบ่งตามช่วงเวลาที่เจอกัน แบบนี้ครับ
Good morning ใช้ในตอนเช้า ( ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึง 11.59 น.)
Good afternoon ใช้ในตอนหลังเที่ยง ( ตั้งแต่ 12.01 น. เป็นต้นไป )
Good evening ใช้ในตอนเย็น ( เวลาไม่ค่อยแน่นอน เอาเป็นว่า ตั้งแต่ตอนเย็นๆ ไปจนดึกๆก็ยังใช้ได้อยู่ )
Good night เจ้านี่สำมะคัญ เพราะว่า เราคิดว่า เจอกันตอนดึก ต้อง Good night ไม่ใช่นะครับ คำนี้ เอาไว้พูดเวลา จากกัน ตอนกลางคืนเท่านั้น อย่าใช้สับกับ Good evening เป็นอันขาดล่ะ อายเค้าตายเลย
Hi! ใช้กับคนกันเอง ไม่เป็นทางการ
Hello! ใช้ได้ทั่วไป ไม่ค่อยทางการเท่าไหร่
ยกตัวอย่างการเวลาเจอกัน เช่น
Good morning. how are you?
อรุณสวัสดิ์ คุณสบายดีหรือ
How are you today?
วันนี้คุณเป็นอย่างไรบ้าง
What about you?
คุณเป็นอย่างไรบ้างล่ะ
Long time no see. how about you?
ไม่ได้เจอกันนานนะ คุณเป็นอย่างไรบ้าง
ทีนี้ เวลาตอบ เราก็ตอบได้หลากหลาย
I'm fine, thank you and you? อันนี้คนไทย ถนัด เพราะถูกสอนแบบนี้ มาแต่เด็ก รวมทั้งตัวผมเองด้วย 5555
ฉันสบายดี ขอบคุณครับ แล้วคุณล่ะ
I'm o.k.
ฉันสบายดี (ใช้ตอบสำหรับคนที่คุ้นเคยกัน)
Not bad.
ก็ไม่เลวนักหรอกครับ
Very well, thanks.
สบายดีเลยล่ะ ขอบใจ
So bad, I have got a cold.
แย่หน่อยครับ ผมเป็นหวัด
ตัวอย่างการสนทนา เช่น
A : Good morning, how are you?
สวัสดีครับ สบายดีหรือครับ
B : I'm not quite well.
ไม่ค่อยดีนักหรอกครับ
A : What's the matter?
มีเรื่องอะไรหรือครับ
B : I have a fever.
ผมมีไข้ครับ
A : I'm sorry to hear that.Why don't you go to see the doctor?
ผมเสียใจด้วยนะที่ได้ยินอย่างนั้น ทำไมคุณไม่ไปหาหมอล่ะ
B : I think maybe this afternoon.
ผมคิดว่าบางทีอาจเป็นบ่ายนี้ล่ะครับ
A : I hope you get better soon.
ผมหวังว่าคุณคงสบายดีขั้นเร็ว ๆ นี้นะครับ
B : Thank you. Where're you going?
ขอบคุณครับ แล้วคุณกำลังจะไปไหนครับ
A : I'm going to the office.
ผมกำลังจะไปที่ทำงาน
B : Well, have a nice day.
งั้น ก็ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะ
A : Thank, see you later.
ขอบคุณ แล้วพบกันใหม่นะครับ
B : Bye!
ลาก่อนครับ