วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

Phonics วันที่ 17 เมษายน 2552 ต่อ

คิดถึง Blog มากๆ หลังจากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายไปทั่วประเทศช่วงสงกรานต์ปีนี้ เป็นอีก ประวัติศาสตร์ที่ต้องจดจำจริงๆ ทำให้เป็นวันหยุดสงกรานต์ที่นานที่สุดในชีวิตเลย เอาล่ะ ไม่อยากพูดมากละ วันนี้เรามาคุยเรื่อง Phonics กันต่อดีกว่า เอ ถึงไหนแล้วล่ะ อ้อ เสียง ch นี่เอง
เสียง ch จะเป็นเสียง เชอะ ( สั้นและหนัก ) ซึ่งต่างกับเสียง sh คือเสียง ชู ( ยาวและเบา ) อย่างที่เราทำกันในห้องเรียน พูดง่ายๆก็คือ เสียง Ch เทียบได้ประมาณกับเสียง ช ช้าง หรือ ฉ ฉิ่ง ในภาษาไทย แต่เสียง Sh จะคล้ายกับเสียง ชชชชช เวลาที่เราพาเด็กไปฉี่ แล้วทำเสียงแบบนั้น ยังไงยังงั้นเลย
ลองออกเสียงคำเหล่านี้ดูนะครับ
chew ( ชู ) shoe ( ชชู )
cheap ( ชีพพ ) sheep ( ชชีพพ )
chair ( แชร์ ) share ( แชชร์ )
change ( เชนจ ) shape ( เชชพพ )
cheese ( ชีส ) sheet ( ชชีทท )
ส่วน เสียงph นั้น อาจพูดได้ว่าเสียงของ ph กับ f ( เฟอะ หรือ เฝอะ ) คือเสียงเดียวกัน ลองออกเสียงคำว่า phone ( โฟน ) photograph ( ฟ้อถอะกราฟ )
เสียง sq เสียงที่เปล่งออกมาจะเป็นเสียง สเควอะ ให้ทดลองออกเสียงคำเหล่านี้ เช่น squeeze ( สควีซซ ) squirrel ( สเควอเรล ) square ( สแควร์ ) squash ( สควอชช ) คำนี้อย่าลืมทำเสียง ชชช ยาวๆด้วยล่ะ 5555
อย่าลืมนะครับว่า คำเหล่านี้เวลาออกเสียง เราต้องออกเสียงทั้ง s และ q ซึ่งเราจะได้เสียงว่า สะ-เควอะ ของทุกๆ คำ สังเกตดูสิ Q กับ U ชอบอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 90 เลยแหละจะมีที่ไม่อยู่ติดกันน้อยมาก อย่างเช่นคำว่า Qantas ที่เป็นชื่อสายการบินไง แต่ยังไงซะ เราก็ออกเสียงว่า แควนทัส อยู่ดี
เสียง th ละ เจ้าเสียง th นี่มันเป็นเสียงที่เราไม่สามารถเทียบได้กับภาษาไทยได้เลย เพราะภาษาไทยเราไม่มีเสียงนี้ เหมือนกับ ภาษาอังกฤษไม่มีเสียง ง งู อ่ะ ดังนั้น ถ้าเราต้องการออกเสียง th ให้ถูกต้องนั้น ลิ้นของเราจะต้องอยู่ระหว่างฟันและมีลมแทรกผ่านออกมา ( อาจทำได้ยากหน่อย แต่ถ้าพยายามก็เห็นทำกันได้ทุกคน เสียงที่ได้คล้าย ด เด็ก ผสมกับ ท ทหาร ผสม กับ ส เสือ แหม ก็นะ พูดไปแลบลิ้นไ ปเสียงก็เลยเป็นแบบนี้แหละ 5555 เช่น Thursday thumb thing think thunder เป็นต้น
เหนื่อยละสิ คนเขียนก็เหนื่อยเหมือนกัน งั้นพอแค่นี้ก่อน นะ วันนี้ ยังไม่เข้าที่เลย หยุดมานาน 55555

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

Basic Sentence Structure วันที่ 3 เมษายน 2552

วันนี้ ตอนแรก ตั้งใจว่าจะคุยเรื่อง Phonics ต่อจากคราวที่แล้ว แต่กลัวว่า นักเรียนในห้องจะเบื่อ ก็เลยเปลี่ยนแนวมาเรียน Grammar แบบง่ายๆ ดูบ้าง จริงๆแล้ว แบบทดสอบที่ใช้ในห้องไม่ได้เป็นของยากอะไรเลย ( อ๋อ ก็ใช่สิ ก็ครูเก่งแล้ว พวกคุณแอบคิดอย่างนี้ใช่มั๊ย ผมรู้ทัน 5555 ) ที่พูดว่าไม่ยาก ก็เพราะว่า มันเป็นแบบ Multiple Choices แถมวิธีการเลือกคำตอบก็ไม่ยุ่งยากเลย เราก็ใช้วิธีการตัดข้อผิดออก แป๊บเดียวก็จะเห็นว่า เจอข้อผิดเต็มเลย สุดท้ายข้อที่ถูกมันก็ผุดออกมาเอง แต่เอาล่ะ สำหรับ คนที่ยังไม่ค่อยมั่นใจ วันนี้ เราจะพูดแบบ ง่ายๆ สั้นๆ ก่อนก็แล้วกัน เนอะ จะได้ไม่หนักเกินไป
โครงสร้างประโยค ที่ใช้กับกริยาทั่วๆ ไป Present Simple Tense เป็นตามตารางนี้นะครับ

หมายเหตุ : เมื่อประธานเป็นเอกพจน์ กริยาแท้ในประโยค ต้องเติม s หรือ es ส่วนการใช้ Do หรือ Does ขึ้นอยู่กับประธาน ถ้าประธานเป็น I, You, We, They หรือพหูพจน์ ให้ใช้ Do หรือ don't ในประโยคปฏิเสธ แต่ถ้าประธานเป็น He, She, It หรือเอกพจน์ให้ใช้ Does หรือ doesn't ในประโยคปฏิเสธนะครับ
เราจะใช้ Tense นี้เมื่อกล่าวถึง
1. การกระทำ หรือ เหตุการณ์ที่เป็นความจริงเสมอ
The sun rises in the east.
The moon shines at night.
The earth goes round the sun.
Dog have four legs.
2. การกระทำที่ทำเป็นประจำ หรือเป็นนิสัย
The baby cries every night.
They do not walk to school every day.
ทีนี้ เราก็มาดูเรื่องกฎการเติม S ท้ายคำกริยา ถ้าเป็นกริยาทั่วไป ให้ +S เช่น eat – eats , work - works , know – knows , sit – sits เป็นต้น
แต่ถ้า เป็นคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, o ให้ +es เช่น pass- passes , teach – teaches , box- boxes ,push- pushes , go-goes เป็นต้น
ส่วนกริยาที่ลงท้ายด้วย y ถ้าหน้า y เป็นสระ ให้ +s ได้เลย เช่น say – says , Play – plays แต่ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วถึงเติม es เช่น fly – flies , cry – cries เป็นต้น
นี่แหละครับ เป็นการอธิบายที่ง่ายที่สุดแล้ว อ่านแล้วยังไม่เข้าใจก็ถามได้นะครับ ถ้าถามแล้วยังไม่เข้าใจ ทำยังไงก็ไม่เข้าใจ สงสัยต้องตัวใครตัวมันแล้วนะครับ 555555

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

Pronouns 2 ( วันที่ 1 เมษายน 2552 )

มาต่อกันนะครับ จากคราวที่แล้ว
2. Possessive Pronouns ( สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ ) คือสรรพนามที่คนสื่อสาร ใช้แทนคำนามเมื่อแสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่ง ได้แก่คำต่อไปนี้ครับ ( มี 6 ตัวนะครับ its ไม่มีนะครับ )
mine, yours, ours, theirs , his, hers
The thickest book is mine. หนังสือเล่มที่หนาที่สุดเป็นของฉัน
This vase is yours. แจกันใบนี้เป็นของคุณ
My parcel is coming today, Theirs will be delivered tomorrow. พัสดุของฉันจะมาถึงวันนี้ แต่ของพวกเขาจะเอามาส่งพรุ่งนี้
There are many balls in this room, Ours is the green one on the table . มีลูกบอลเยอะแยะเลยในห้องนี้ ของพวกเราคือลูกบอลสีเขียวลูกนั้นที่อยู่บนโต๊ะ
จะเห็นได้ว่า possessive pronouns มีความหมายเหมือนกับ possessive adjectives grup’แต่หลักการใช้ต่างกันตรงที่ possessive pronouns จะไม่มีคำนามมาต่อท้ายแล้ว ส่วน possessive adjectives จะต้องมีคำนามมาต่อท้ายเสมอ เช่น
This is my house.
นี่คือบ้านของฉัน ( my ในประโยคนี้เป็น possessive adjective ขยาย house )
This house is mine.
บ้านนี้เป็นของฉัน ( mine ในประโยคนี้เป็น possessive pronoun ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ ( complement) ของคำกริยา is ไม่ต้องมีคำนามอะไรมาต่อท้ายอีกแล้ว)
วันนี้ สั้นๆ ง่ายๆ แค่นี้เองครับ ไม่มีอะไรลึกซึ้ง ให้คิดมากมาย แค่จำให้ได้ก็พอ ส่วนใหญ่เรามักจะเผลออ่ะครับ 55555