วันนี้ เราจะมาคุยเรื่อง adverbs กันนะครับ จะว่าไป adverbs เป็นตำที่มีประโยชน์ในแง่ของการสร้างความรู้สึกให้กับคนฟังได้ดีมากๆเลย เพราะจะช่วยให้คำพูดคำจามีสีสันมากขึ้น แถมวิธีการใช้ก็ไม่ยากเลย อยากใส่เข้าไปในประโยคตอนไหนก็ได้ จะตอนแรก ตอนท้าย ตอนกลาง ได้ทั้งนั้น ขออย่างเดียวอย่าเผลอเอาไปวางไว้หน้าคำนามก็แล้วกัน เอาล่ะ เราจะมาพูดกันเป็นแบบวิชาการล่ะนะ
Adverbs (คำกริยาวิเศษณ์) ก็คือ คำที่ใช้ขยายคำกริยา (verb) , ขยายคุณศัพท์ (adjective) และขยายคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) หรือตัวมันเอง ก็ได้ ( แหม ประโยชน์เยอะจัง ลองเปรียบเทียบกับคำคุณศัพท์ หรือ Adjective คำคุณศัพท์ใช้ขยายแค่คำนามเท่านั้น จำกันได้มั๊ยเนี่ย )
หน้าที่ของ Adverb
1. ใช้ขยายคำกริยา (verbs) เช่น
She eats greedily. (เธอกินแบบตะกละตะกลาม ขยายว่า กิริยาอาการกินของเธอนั้น กินแบบไหน)
2. ใช้ขยายคำคุณศัพท์ (adjective) เช่น
She is very beautiful. ( เธอสวยมากๆ ขยายให้คนฟังรู้ว่า ที่สวยนั้น สวยแค่ไหน)
3. ใช้ขยายคำกริยาวิเศษณ์ (adverbs) ด้วยกันเอง เช่น
That boy runs very quickly. ( เด็กชายคนนั้นวิ่งเร็วมาก คนพูดอยากให้คนฟังรู้ว่า เด็กคนนั้นวิ่งเร็วแค่ไหน )
ชนิดของ Adverb
1. Adverb of Manner เป็น adverb ที่บอกอาการหรือลักษณะการกระทำ ใช้ตอบคำถามที่ขึ้นต้นด้วย How? (อย่างไร ) เช่น hard = หนัก , fast = อย่างเร็ว , beautifully = อย่างสวยงาม , happily = อย่างมีความสุข เป็นต้น ( แนะนำว่า เวลาแปลเป็นภาษาไทย เรามักใส่คำว่า อย่าง หรือ โดยเข้าไปข้างหน้า จะทำให้ได้ใจความสละสลวยมากขึ้น ) ทีนี้ก็มาถึง ตำแหน่งของมันในประโยค ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง ตำแหน่งที่นิยมกันคือ
1. หลัง Verb หรือคำกริยา เช่น It moves quickly. ( มันเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
2. หลัง Direct Object หรือกรรมตรง เช่น He looks at me angrily. ( เขาจ้องมองดูฉันอย่างโกรธๆ )
หมายเหตุ ที่มาของ Adverb of Manner ก็ได้มาจากการเติม -ly ข้างท้าย adjective แต่ถ้า adjective ตัวนั้นลงท้ายด้วย y และหน้า y ไม่ใช่ a , e , i ,o , u ก็ให้เปลี่ยน y เป็น i ก่อนแล้วจึงเติม –ly เช่น Happy หน้า Y เป็นพยัญชนะ หาใช่สระไม่ ( แหม สำนวน เน่าจริงๆ 55555 ) ก็ให้เปลี่ยน Y ให้เป็น i ก่อน แล้วค่อย เติม Ly กลายเป็น Happily
แต่ก็มีคำยกเว้นบางคำเช่น good ไม่ใช่ Goodly นะ แต่ต้องจำไว้ว่า ให้ใช้คำว่า well แทน
และอีกอย่าง คำบางคำที่เป็นได้ทั้ง adjective และ adverb เช่น hard , fast , late , early , last , straight เป็นต้น
2. Adverb of Degree บอกระดับความเข้มข้น เช่น very = มาก , quite , pretty = ค่อนข้าง หรือ ทีเดียว , rather = มากกว่าที่จะ หรือ ค่อนข้างที่จะ , almost = เกือบจะทั้งหมด หรือ เกือบจะ , extremely = อย่างยิ่ง สุดๆ , too = มากเกินไป ส่วนตำแหน่งในประโยคนั้น นิยมใช้ดังนี้
1. วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ ( Adjective ) เช่น It's very cold. ( แหม มันหนาวจัง )
2. วางไว้หน้าคำวิเศษณ์ ( adverb ) เช่น She sings extremely nicely. ( เธอร้องเพลงได้เพราะสุดๆ ไปเลย ) เป็นต้น
3. Adverb of Place ใช้บอกตำแหน่ง เช่น up , down , here , there เป็นต้น
ตัวอย่างประโยค -- Khun Toom came here last week. (วางอยู่หลังคำกริยา came )
4. Adverb of Frequency ใช้ขยายคำกริยา เพื่อบอกถึงความถี่ของการกระทำ และจะวางไว้หน้าคำกริยานั้นๆด้วย ยกเว้น sometimes ที่สามารถอยู่ต้นประโยคได้
เช่น always มักจะ หรือ เสมอๆ ,usually เป็นประจำ , often บ่อยๆ , sometimes บางครั้ง, seldom นานๆครั้ง , never ไม่เคย
Examples: Khun Nut always goes to office early. ( คุณนัท มักจะไปที่ทำงานแต่เช้า )
Khun Mol usually has dinner at 6.( คุณมล ทานเข้าเย็น ตอนหกโมงเย็นเป็นประจำ เราสามารถพูดแบบนี้ได้โดยไม่ต้องเติมคำว่า am pm เพราะเราเข้าใจว่าผู้ฟังน่าจะฉลาดพอที่จะเข้าใจได้ว่า เป็นเวลาไหนของวัน)
5. Adverb of time บอกจุด หรือ ช่วงของเวลา เช่น Tonight (คืนนี้) , during summer (ระหว่างฤดูร้อน) , early (แต่เช้าตรู) , tomorrow (พรุ่งนี้) , yesterday (เมื่อวานนี้) , soon (ในไม่ช้า) เป็นต้น สำหรับตำแหน่งในประโยค ก็เช่น ไว้ท้ายประโยค I will go to Chiengmai next month. หรือวางไว้ต้นประโยค เมื่อต้องการเน้น เช่น Tomorrow I am going to tell you the truth.
วันนี้ ขอเท่านี้ก่อนนะครับ บาย